No products in the cart.

Privacy & Security

Digital Signature ที่ใช้ในการ Sign Transaction บิตคอยน์คืออะไร?
อย่างที่รู้กันว่าบิตคอยน์ (Bitcoin) นั้นใช้ Digital Signature ในการ Sign Transaction แล้วการ Sign Transaction ที่ว่านี้มันคืออะไร?
จากการสุ่มหา Entropy ในบทความก่อนหน้านี้ เราจะพบว่า Fund ไม่ว่าจะมีมูลค่าเท่าไหร่ก็สามารถจัดเก็บไว้ในรูป Entropy 64 byte, 256 bit หรือ mnemonic phrase 24 คำ (หรือที่เรียกว่า Seed) ได้
แต่ผู้คนมากมายก็ยังประสบกับปัญหาในการจัดเก็บและดูแลชุด Seed ของตนเอง
สิ่งที่ผมจะพูดต่อไปนี้ไม่ใช่สูตรสำเร็จ แต่จะเป็นการอธิบายถึงวิธีการคิดที่คุณสามารถนำไปเลือกใช้ในการจัดการ Backup ชุด Seed ของตัวคุณเอง
และทางเลือกของคุณจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่คุณจะได้รับ..
หาก “จุดสีดำ” แต่ละจุดคือการตัดสินใจที่คุณต้องทำกับชุด Seed ของคุณ เป้าหมายของคุณคือการตัดสินใจ “ทางเลือก” ที่เป็นไปได้ทั้งหมดในแต่ละสถานการณ์ จนกว่าคุณจะไปถึงขั้นสุดท้ายที่ปลอดภัย (จุดสีเขียว)
หากตัดสินใจผิดพลาด (จุดสีแดง) หรือตัดสินใจไม่ได้ในบางสถานการณ์ คุณก็อาจจะประสบกับปัญหาได้
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ในแต่ละสถานการณ์ที่คุณจะต้องตัดสินใจ อาจจะมีทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่า 1 ทางเลือก ดังนั้นคุณจึงสามารถที่จะมีหลายทางเลือกสำหรับสถานการณ์เดียวได้ โดยไม่จำเป็นต้องเลือกแค่ทางเลือกเดียวเสมอไป
เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับชุด Seed เราต้องรู้ก่อนว่าเราต้องปกป้องชุด Seed ของเราจากอะไรอยู่บ้าง
คำถามแรกที่คุณควรตอบตัวเองให้ได้ก่อน คือ คุณต้องการ Backup Seed จำนวนเท่าไหร่?
เพราะตัวเดียวคงไม่พอ! หรือถ้าคิดว่าพอ..ลองมาดูเหตุการณ์ต่อไปนี้
สมมติว่าคุณมี Backup Seed เพียงชุดเดียว และหาก Backup Seed ชุดนั้นสูญหาย ถูกขโมย ถูกทำลาย หรือถูกทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ถ้าบังเอิญคุณยังโชคดีที่ Hardware Wallet ของคุณยังคงปลอดภัยดี และ Fund ของคุณยังไม่ถูกเคลื่อนย้าย คุณก็อาจจะสร้างกระเป๋าใบใหม่บนชุด Seed ใหม่ แล้วโอนเงินทั้งหมดไปกระเป๋าใบใหม่ได้
แต่.. ถ้า Backup Seed หายไปพร้อมกับ Hardware Wallet ล่ะ?
คุณก็จะสูญเสีย Fund ทั้งหมดไปเลยทันที! ทีนี้คุณอาจจะเริ่มคิดแล้วว่า Backup แค่ 1 ชุดนั้นอาจจะไม่พอเสียแล้ว และคิดว่าแบบนี้ก็ควรจะมี “แผนสำรอง” เอาไว้ด้วยเผื่อ Backup Seed เกิดมีปัญหาแบบกรณีข้างต้น
การจัดเก็บ (ที่ไม่ได้เข้ารหัส) ไว้บน “บริการออนไลน์” ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น
การจัดเก็บ (ที่ไม่ได้เข้ารหัส) ไว้บน “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” ที่เสี่ยงที่จะถูกโจมตี (Compromise Attack)
ผมคงจะไม่ยกตัวอย่างนะว่าทำไมมันถึงห่วยแตก เพราะคุณสามารถหาอ่านข่าวหรือบทความพวกนี้ได้ง่ายอยู่แล้ว
มาถึงตรงนี้แล้วคุณอาจจะคิดว่าถ้าใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แล้วมันเสี่ยง ก็มาใช้สมองและความจำของตัวเองดีกว่าไหม?
สถานการณ์เดียวที่ผมคิดว่าจะใช้วิธีนี้ คือถ้าต้องหนีจากหายนะโดยไม่มีเวลาเตรียมตัวมากนัก และหากมีความกังวลว่าจะถูกโจมตีทางกายภาพ ถูกตรวจสอบร่างกาย ผมคิดว่าการท่องจำชุด Seed ถือเป็นกลยุทธ์ที่ดีสำหรับใช้ชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน
แต่มันก็มีความเสี่ยงจะนำไปสู่ “Single Point of Failure” ได้ เช่น
ไม่ว่าคุณจะมีกี่ทางเลือกที่ได้พิจาณาไว้สำหรับสถานการณ์ที่หลากหลาย หรือไม่ว่าวิธีการ Backup ชุด Seed ของคุณจะมีกี่แบบ แต่ถ้าหากคุณไม่เคยทดสอบการใช้งานมันเลย คุณก็ไม่มีทางมั่นใจได้ว่า Backup ที่เก็บไว้นั้นจะใช้งานได้จริง เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องใช้มันจริง
แล้วคุณควรทดสอบ Backup Seed ของคุณยังไง?
โดยปกติแล้วเมื่อคุณซื้อ Hardware wallet คุณจะได้กระดาษสำหรับจด Seed มาด้วย
แต่กระดาษย่อมแพ้กรรไกร แพ้น้ำ แพ้ปลวก และที่มากกว่านั้น.. มันแพ้ไฟ
และหากว่า Fund ของคุณมีมูลค่ามากพอ คุณอาจจะมองหาทางเลือกในการ Backup Seed ที่เหมาะสมกับสถานการณ์อื่น ๆ มากกว่าที่กระดาษแผ่นนึงจะรับมือได้
อุปกรณ์สำรองชุด Seed ที่เป็นโลหะในตลาดมีมากกว่า 50 ตัว (ยังไม่นับอุปกรณ์ DIY ต่าง ๆ) แต่ลักษณะที่ดีของอุปกรณ์สำรองชุด Seed ที่ดีบางส่วนคือ
วัสดุที่เราจะเลือกใช้ควรมีจุดหลอมเหลวที่สูง ทนต่อการกัดกร่อน และมีความแข็งแรงสูง
จุดหลอมแหลว (Melting Point)
ความทนต่อแรงดึง/ค่าความเค้นของวัตถุ (Tensile Strength)
เพราะขนาดบ้านยังอาจเกิดไฟไหม้หรือน้ำท่วมได้ แล้วนับประสาอะไรกับ Recover Sheet ที่ทำมาจากกระดาษ
โลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำเช่น Aluminium เมื่อได้รับความร้อนก็สามารถหลอมละลาย และเสียรูปได้โดยง่าย
อุปกรณ์มีชิ้นส่วนจำนวนมาก เมื่อรับได้ความเสียหายทางกายภาพ ชิ้นส่วนทั้งหมดอาจหลุดออกจากกัน จนยากที่จะกู้คืนมาได้
อุปกรณ์ที่เกิดการกัดกร่อน (Corrosion) ได้ง่าย เมื่อได้รับความเสียหาย ก็ยากที่จะกู้คืนกลับมาใช้งานอีกได้
Link ด้านล่างนี้ คือผลของการทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) ของเหล่าอุปกรณ์จัดเก็บชุด Seed บางตัวในตลาด ซึ่งผู้ทำการทดสอบได้มีการจัดเกรดแต่ละด้านไว้ให้ด้วย หากสนใจ ลองดูได้ที่ : https://jlopp.github.io/metal-bitcoin-storage-reviews/
จากเนื้อหาทั้งหมด คุณสามารถนำไปใช้พิจารณาเองได้นะครับ ว่าอุปกรณ์แบบไหนหรือวิธีการใดที่เหมาะสมกับคุณ หรือคุณอาจจะเอาไอเดียทั้งหมดนี้ไปลอง DIY อุปกรณ์ Backup Seed ของคุณเองก็ได้
มาถึงตรงนี้คุณคงจะพอรู้แล้ว ว่าเป็นการยากที่จะบอกว่าคุณควรเลือกใช้วิธีใดในการ Backup Seed ของคุณ แต่ที่แน่ ๆ คุณไม่จำเป็นจะต้องมีทางเลือกเดียว สำรวจตัวคุณเองก่อนว่ามีสถานการณ์ใดบ้างที่คุณคิดว่าอาจจะต้องเผชิญ หรือต้องกังวลว่าอาจจะมีโอกาสเกิดขึ้นในวันหน้า แล้วหาทางเลือกสำหรับแต่ละสถานการณ์ ให้เหมาะสมกับตัวคุณเองและคนรอบข้างของคุณ
และวิธีคิดเหล่านี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเก็บ Passphrase ของคุณได้อีกด้วย
แต่อย่าลืมว่า “ห้ามเอา Hardware Wallet, ชุด Seed และ Passphrase ไปเก็บไว้ในที่เดียวกันทั้ง 3 อย่าง”
ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็น “Single Point of Failure” ที่คุณคงจะอยากเขกหัวตัวเองไปจนวันตาย
ขอให้คุณเจอทางเลือกของตัวคุณเอง
โชคดีครับ
** ทุกบาทหรือทุกซาโตชิที่ donate จะถูกส่งเข้ากระเป๋าของผู้เขียนโดยตรงครับ :) **
อย่างที่รู้กันว่าบิตคอยน์ (Bitcoin) นั้นใช้ Digital Signature ในการ Sign Transaction แล้วการ Sign Transaction ที่ว่านี้มันคืออะไร?
HD wallet คืออะไร? มันทำงานอย่างไร? และทำไมเราจึงไม่ควรใช้ Address ซ้ำ ๆ บทความนี้เราจะมาไขข้อข้องใจของมือใหม่เหล่านี้กัน
Seed 24 คำ ในระบบบิตคอยน์ แท้จริงแล้ว มันคืออะไรกันแน่? ในเมื่อเรามีอุปกรณ์ที่สามารถสร้าง Seed ได้อย่างง่ายดายกันอยู่แล้ว ทำไมเรายังต้องรู้วิธีการสร้าง Seed ด้วยตัวเองอีกล่ะ ? บทความนี้จะพาคุณไปเรียนรู้วิธีสร้าง Seed ด้วยตัวเองกันครับ
The dissemination of knowledge about Bitcoin was a driving force behind the foundation of Right Shift. Our mission is to become the go-to source for information and digital media in the marketplace.
A ton of books and other works are included. We make a wide variety of products under the Right Shift & Piranha33 label.
Copyright © 2022 – Right Shift Company Limited. All rights reserved