DALL·E 2022-10-31 11.15.01 - Bitcoin_ A natural disaster_, digital art
Right Shift

Right Shift

Right Shift Co., Ltd. Official Team

Bitcoin: A natural disaster?

‘ได้ข่าวว่าบิทคอยน์ ใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับครึ่งหนึ่งของประเทศ Austriaเลยเหรอ?’ การ ‘ขุด’ Bitcoin นั้นใช้พลังงานไฟฟ้ามากมายมหาศาล และนี่ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่หลายๆคนกังวลกันว่า Bitcoin จะกลายเป็นว่าจะเป็นภัยธรรมชาติด้วยหรือเปล่านะ?

ขุด Bitcoin เปลืองไฟจริงหรือไม่?

Authored by Piriya Sambandaraksa via Medium // Sep 18, 2018

เมื่อช่วงสัปดาห์ก่อน มีคนถามผมว่า..

‘ได้ข่าวว่าบิทคอยน์ ใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับครึ่งหนึ่งของประเทศ Austria เลยเหรอ?’

คำถามนี้ไม่ใช่คำถามใหม่ หากแต่เป็นคำถามที่ถูกยกขึ้นมาพูดถึงในรูปแบบต่างๆมากมายหลายครั้งในช่วงทศวรรตที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin ใช้พลังงานสูงมาก หรือ พลังงานที่ใช้ในการขุด Bitcoin นั้นเห็นแก่ตัวเพราะไม่ได้เอาพลังงานมาสร้างคุณค่าอะไรแก่ใคร

ตัว Bitcoin ก็ไม่ได้มีคุณค่าในตัวเอง (Intrinsic Value) หรือคุณค่าในการใช้สอย (Utility Value) อะไรเลย หรือบางครั้งไปไกลถึงขนาดที่มองว่า การขุด Bitcoin นั้น คือการขุดเงินในอากาศ!?!

แน่นอนครับ การ ‘ขุด’ Bitcoin นั้นใช้พลังงานไฟฟ้ามากมายมหาศาล และนี่ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่หลายๆคนกังวลกันว่า Bitcoin นอกจากจะเป็นภัยกับระบบธนาคารแล้ว กลายเป็นว่าจะเป็นภัยธรรมชาติด้วยหรือเปล่านะ?

หลายครั้งที่ผมได้รับคำถามที่สร้างความเหนื่อยใจ ไม่ใช่เพราะไม่สามารถตอบได้ แต่เป็นคำถามที่ จำเป็นต้องใช้เวลาในการตอบ และผมเข้าใจดีว่าผู้ถาม ไม่ได้ต้องการคำตอบที่ยาวขนาดนั้น บทความนี้เป็นการตอบแบบยาวๆ ยังไงก็ลองอ่านกันนะครับ

ทุกวันนี้ Bitcoin ใช้พลังงานในการยืนยันธุรกรรมต่างๆ สูงถึง 55–73 tWh ต่อปี
เทียบให้เห็นภาพ ประเทศไทยทั้งประเทศ ใช้พลังงานประมาณ 168 tWh ต่อปี หรือถ้าจะเทียบกัน ตอนนี้ Bitcoin ใช้พลังงานพอๆกับประเทศ Austria หรือ Philippines นั่นเอง

ความกังวลของหลายๆคน คือ Bitcoin นั้น “แพง” เกินไปหรือไม่?

กาแฟแก้วละ 1000 บาท คงจะรู้สึกแพงน่าดู แต่ถ้ามือถือเครื่องละ 1000 บาทกลับเป็นของถูกเสียยิ่งกว่าถูก

ความ “แพง” นั้น เป็นความรู้สึก ที่เกิดขึ้นจากการเปรียบเทียบ เมื่อคุณสามารถซื้อกาแฟสดได้ที่ราคาแก้วละ 35 หรือดีๆหน่อยก็ร้อยกว่าบาท กาแฟแก้วละพันจึงดูเป็นของ “แพง” เช่นเดียวกัน

ปกติเราซื้อมือถือเครื่องหนึ่ง สองถึงสามหมื่นบาท ถ้าเราเห็นมือถือเครื่องละพัน spec ใกล้ๆกัน คงรู้สึกว่า ถูกจังเลย เราสามารถเปรียบเทียบราคาสิ่งที่เรารู้จัก เข้าใจ ได้ เพราะเราเข้าใจถึงคุณค่าที่มันให้กับเราได้ดี

แล้วที่เรารู้สึกว่า Bitcoin แพงนั้น เราเทียบกับอะไรล่ะ?

นี่คือคำถามที่สำคัญ หลายคนที่บอกว่า Bitcoin ใช้พลังงาน ‘เปลือง’ หรือ ‘แพง’ มาก กำลังเปรียบเทียบกับอะไร?

ตัวเลขที่สื่อมักนำเสนอคือ ตอนนี้ Bitcoin ใช้พลังงานเท่ากับประเทศไหนๆ ซึ่งในความเป็นจริง นั่นไม่ได้บอกอะไรเราเลยแม้แต่นิดเดียว

บางคนก็เทียบการใช้งานพลังงานของ Bitcoin กับ Visa

ก็จะเห็นได้ว่า Bitcoin ใช้พลังงานมากกว่าการทำธุรกรรมบน VISA มากมายมหาศาล จนเรารู้สึกว่า โห มันแพงมากๆเลยนะ!

แต่การเปรียบเทียบเช่นนี้ ก็ยังมีข้อบกพร่อง ที่นำมาสู่ความเข้าใจผิดอยู่มาก เพราะเรากำลังมองว่า พลังงานที่ใช้ในการทำงานของ Bitcoin นั้น ทั้งหมดใช้ไปในการทำธุรกรรมเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง และการคำนวณพลังงานของ VISA นั้น คิดเพียงค่าไฟฟ้าในการส่งข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งค่าจ้างพนักงาน ค่าบริหารองค์กร อาคาร server ฯลฯ

เพื่อที่จะเข้าใจว่า Bitcoin นั้น ‘สิ้นเปลือง’ ขนาดไหน เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Value ที่ Bitcoin ให้นั้นมีอะไรบ้าง หรือพูดในอีกนัยหนึ่งคือ..

เรากำลังจ่าย [ค่าไฟ] เพื่อแลกกับอะไร?

แล้วเราจ่ายเพื่ออะไรล่ะ?

ความสามารถในการทำธุรกรรม : ability to transact

Bitcoin ทำให้มนุษย์ทุกคนบนโลกสามารถทำธุรกรรมทางการเงิน ถึงกันและกันได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง เท่าเทียม และที่สำคัญ เสรี นับเป็นครั้งแแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่เราสามารถส่ง ‘มูลค่า’ ขนาดเล็กหรือใหญ่เท่าไหร่ก็ได้ จากที่ใดที่หนึ่งบนโลก ไปสู่อีกที่หนึ่งบนโลก ได้อย่างอิสระ โดยมีค่าใช้จ่ายเท่ากัน และไม่ต้องอาศัยตัวกลางมาคอยควบคุม

การ ‘ขุด’ Bitcoin คือการใช้ความสามารถในการคำนวณเพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม (Verification) ว่ามีรูปแบบถูกต้องหรือไม่ เงินที่จะทำการโอนมีจริงหรือไม่ ฯลฯ และยืนยันธุรกรรมที่เกิดขึ้น (Confirmation) ลงบนบัญชีกลางที่ไม่สามารถแก้ไขได้ พร้อมทั้งยังป้องกันการแก้ไขย้อนหลังด้วยกำลังขุดนั่นเอง (Thermodynamic Security)

ส่วนนี้คือส่วนที่เราอาจเปรียบเทียบกับระบบ Payment System อย่าง Visa / MasterCard ได้ แต่ความแตกต่างคือ ในระบบ Payment System ทั่วไป มูลค่าถูกเคลื่อนย้ายในลักษณะ Debit/Credit และต้องใช้เวลามากถึงสามเดือนในการสร้าง Finality

ในขณะที่ Bitcoin นั้น เป็นการส่งมูลค่าจริงๆ ตรงๆ คล้ายการใช้เงินสด (หรือทองคำ) โดยสามารถสร้าง Finality ได้ภายใน 10 นาที (หรือไม่กี่ชั่วโมง ในกรณีที่ไม่รีบ)

ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียในเวลาเดียวกัน เนื่องจากการโอนที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้ ซึ่งอาจทำให้ผู้โอนต้องระมัดระวังมากขึ้น ขณะที่ผู้รับมีความปลอดภัยจากการ Charge-back สูงขึ้นนั่นเอง

ความปลอดภัยและความมั่นคง : security

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น นอกเหนือจากการทำธุรกรรมแล้ว ค่าไฟฟ้าในการตรวจสอบบัญชี ยังใช้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ระบบ ซึ่งถ้าเทียบกับระบบธนาคารหรือระบบการจ่ายเงินโดยทั่วไปแล้ว ความปลอดภัยนี้หมายถึง การป้องกันการขโมย ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ ด้วยการสร้างคลังที่แน่นหนา ระบบป้องกันจารกรรมที่ซับซ้อน ไปจนถึงระบบป้องกันการโจมตีทาง Internet และ Electronic ผ่านระบบ ป้องกันการ Hack ป้องกันการ DDoS รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้พัฒนา และพนักงานผู้เชี่ยวชาญทางความปลอดภัยในทุกๆด้าน การออกแบบระบบป้องกันเงินระหว่างการเคลื่อนย้าย การประกัน และการจารกรรมทาง electronic จากฝั่งผู้ใช้เช่นการขโมยเบอร์บัตรเครดิต ฯลฯ

ทั้งหมดนี้ไม่เพียงแต่ใช้ทรัพยากรจำนวนมาก แต่ยังอาจสามารถบอกได้ว่า ยังไม่สามารถทำได้สำเร็จในหลายๆด้านด้วยซ้ำ

ในปี 2017 เฉพาะใน US มีการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตจากธนาคารกว่า 1500 ครั้ง ส่งผลให้หมายเลขบัตรเครดิต และเลขประกันสังคมจำนวนกว่า 14.2 ล้าน และ 158 ล้านเลขหมายตกอยู่ในมือมิจฉาชีพ

การจารกรรม Bitcoin นั้น ก็สามารถทำได้หลายวิธี โดยสำหรับ Bitcoin (และ Cryptoassets อื่นๆ) Private Key คือสิ่งที่สำคัญที่สุด การเก็บรักษา Private Keys (และ Seed หรือ Master Key) คือสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้งานทุกคนจำเป็นต้องรับผิดชอบ และนั่นอาจดูน่ากลัว แต่ในทางกลับกัน ก็หมายความว่า มิจฉาชีพนั้นจะไม่สามารถ Hack เข้าระบบของตัวกลางอย่างเช่น ธนาคาร และขโมยข้อมูลของลูกค้าเป็นล้านๆรายได้โดยง่ายนั่นเอง

 

การดูแลรักษา Private Keys นั้นเป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมา ผู้ใช้งานต้องตระหนักเสมอว่า ถ้าเราไม่ได้ถือ Private Keys เอง แปลว่า Bitcoin นั้นไม่ใช่ของเรา (เช่น ฝากไว้ใน Exchange) #NotYourKeysNotYourCoins และในกรณีที่เราถือ Private Keys เองก็มีวิธีในการป้องกันการ Hack หรือขโมยอยู่หลายวิธี เช่นการใช้งาน Hardware Wallet เช่น Trezor หรือ Ledger นั่นเอง

แต่ที่สำคัญกว่าคือการป้องกันการแก้ไขการทำธุรกรรมย้อนหลัง ซึ่งพลังงานที่ใช้ในการขุด Bitcoin นั้น จะเข้ามามีบทบาทมากในส่วนนี้

ในระบบที่ไร้ตัวกลาง การที่เราสามารถแก้ไขบัญชีย้อนหลังได้ หมายถึงความพังพินาศของระบบ Bitcoin และเหรียญต่างๆ ใช้กำลังการ ‘ขุด’ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น

แล้วในระบบที่ไร้ตัวกลาง มีผู้บันทึกบัญชีจำนวนมากที่ไม่ได้รู้จัก และไม่ได้ไว้ใจกัน เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าบัญชี Version ไหนที่ถูกบันทึก เป็นความจริง?

 

คำตอบคือ ระบบจะตัดสินว่าบัญชี Version ไหนเป็นความจริง จากความ ‘ยาก’ ของการปิดบัญชี (Difficulty) โดยบัญชี (Blockchain) ที่มีระดับความยากที่สูงกว่าจะถูกมองว่าเป็นความจริง และบัญชีที่ถูกปิดโดยมีค่า Difficulty รวมต่ำกว่าจะถูกลบและเขียนทับไป (สำหรับขั้นตอนในการทำงานอย่างละเอียดขอละไว้ในภายภาคหน้า)

ซึ่งนั่นก็หมายความว่า การโจมตีระบบเพื่อเปลี่ยนแปลงบัญชีย้อนหลัง สามารถทำได้อย่างตรงไปตรงมา เพียงแค่ผู้โจมตีมีกำลังในการคำนวณเลขปิดบัญชี (hash) ที่มาก กว่ากำลังการคำนวณของระบบทั้งระบบ ก็สามารถที่จะสร้าง ‘ความจริง’ version ใหม่ที่ได้รับการยอมรับได้ ซึ่งการโจมตีในลักษณะนี้เรียกว่า 51% Attack เพียงแต่สิ่งนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้บน Cryptocurrency ที่มีกำลังการขุดอยู่เบื้องหลังเป็นจำนวนมากอย่าง Bitcoin

ถ้าผู้โจมตีคิดจะทำ 51% Attack บน Bitcoin สิ่งที่ผู้โจมตีต้องทำ คือ ลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งกำลังขุด มากกว่ากำลังขุดของทุกคนบนโลกรวมกัน

นั่นหมายถึงการลงทุนในโรงงานขนาดยักษ์ เพื่อผลิต Chip ที่เหนือกว่าของที่มีขายอยู่ ลงทุนในที่ดินขนาดใหญ่เพื่อตั้งโรงขุด ลงทุนในโรงงานผลิตไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอที่จะเลี้ยงประเทศเล็กๆอย่าง Austria หรือ Philippines ได้ทั้งประเทศ และทำทั้งหมดนี้ให้สำเร็จในเวลาอันสั้น เนื่องจากกำลังขุดของทั้งโลกนั้น ยังเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ทั้งหมดนี้เพียงเพื่อที่จะแก้ไขบัญชีย้อนหลังเพื่อทำการเอาเงินของตัวเองคืน (Double Spending) เท่านั้น แต่เงินที่ได้คืนมาก็จะหมดค่า เมื่อผู้ร่วม Network คนอื่นๆเห็นว่ามีการโจมตีเกิดขึ้น ก็อาจเทขายเหรียญทำให้ราคาตกลงอย่างรวดเร็ว หรืออาจตัดสินใจร่วมกันทำการ Hard Fork เพื่อต่อต้านการแก้บัญชีย้อนหลัง ทำให้เหรียญที่ได้มาไม่มีมูลค่า

Game Theory จะกำหนดให้ผู้โจมตีเลือกที่จะเอากำลังการขุดของตนเอง เข้าร่วมกันกับกำลังของระบบ ทำให้ระบบแข็งแกร่งขึ้นส่งผลให้มูลค่าทางความมั่นคงของระบบสูงขึ้น และเขาเองก็จะสามารถได้ Block Reward จำนวนมากจากการขุดอีกด้วย

จึงจะเห็นได้ว่า กำลังขุดที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่การตรวจสอบยืนยันธุรกรรม แต่ยังเป็นกลไกหลักในการสร้างความมั่นคง ความปลอดภัย และความต้านทานการโจมตีของระบบอีกด้วย

ความยุติธรรม : fair distribution of wealth

อีกปัจจัยสำคัญ จนอาจเรียกได้ว่าสำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้ผู้คนนำเอาพลังงานมาช่วยในการตรวจสอบบัญชีและทำให้ระบบ Bitcoin ทำงานได้ คือการสร้างระบบการแจกจ่ายมูลค่าอย่างยุติธรรม พูดง่ายๆคือ ทำงาน แล้วได้เงิน!

นักขุด หรือผู้ปิดบัญชี นั้น เมื่อสามารถปิดบัญชีได้สำเร็จ (ค้นพบ Hash ที่มีจำนวนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจากค่า Difficulty หรือเมื่อ Chain ที่เลือกวาง Stake ได้รับการยอมรับ) ก็จะได้รางวัล (Block Reward) เป็นเหรียญนั้นๆ ซึ่งกลไกนี้ เป็นกลไกที่สร้างแรงจูงใจให้นักขุดต้องการที่จะมาช่วยกันทำงานเพื่อแลกรางวัล โดยงานที่ทำนั้น ก็จะส่งผลให้ระบบสามารถทำธุรกรรมได้ สร้างความมั่นคง และป้องกันตัวเองจากการโจมตีได้

แต่กลไกของ Block Reward ก็มีคุณค่าในตัวมันเองด้วยเช่นกัน

ในระบบการเงินที่มีศูนย์กลาง ผู้ควบคุมระบบมีอำนาจที่จะผลิตเงินขึ้นมาเพิ่มเติมได้ ไม่ว่าจะเพื่อทดแทนเงินตราที่หายไปจากระบบ (สูญสลาย โยกย้าย) หรือเพื่อตอบรับจำนวนหนี้ที่เพิ่มขึ้นจากการกู้ยืมตนเองผ่าน Fractional Reserve Banking

ซึ่งเงินที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น จะตกอยู่ในมือของกลุ่มคนที่อยู่ ‘ใกล้’ จุดกำเนิดก่อน เช่น ธนาคาร สถาบัณการเงิน การลงทุน กองทุนต่างๆ ทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำทางการกระจายตัวของเม็ดเงินในระบบ ส่งผลให้ทุกครั้งที่มีการผลิตเงินเพิ่ม จึงเปรียบเสมือนการขโมยเงินผ่านการทำลายมูลค่าพื้นฐานของเงินจากกระเป๋าประชาชนทั่วไป เพื่อเอื้อประโยชน์แก่คนกลุ่มเล็กๆนั่นเอง

ระบบการเกิดขึ้นของ Bitcoin ผ่าน Block Reward ที่จะคอยสร้างเหรียญใหม่เข้ามาสู่ระบบในอัตราที่ลดลงครึ่งหนึ่งทุกๆ 4 ปี ทำให้ทุกคนที่เข้าร่วมในระบบการทำงานของ Bitcoin มีโอกาสที่เท่าเทียมในการได้รับเหรียญที่เกิดขึ้นใหม่ โดยไม่มีตัวกลางควบคุม

และอัตราการเกิดใหม่ของ Bitcoin ที่ลดลงครึ่งหนึ่งทุกๆ 4 ปี ยังเป็นกลไกในการควบคุมจำนวน และอัตราเงินเฟ้อของระบบ เป็นครั้งแรกที่เราสามารถรู้อัตราเงินเฟ้อของเงินได้ล่วงหน้าถึง 140 ปี!

อธิไตยทางการเงิน : Financial Sovereign

นอกเหนือจากการตอบสนองต่อหน้าที่ของการขุดแล้ว เราจะเห็นได้ว่า การขุดเป็นกิจกรรมที่เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความเสรีให้แก่ระบบการทำงานของ Bitcoin

เนื่องจากการขุดคือการกระจายอำนาจในการตรวจสอบและสร้างความมั่นคงของระบบไปอยู่ในมือของผู้ใช้งาน ทำให้ Bitcoin สามารถที่จะทำงานได้โดยไม่มีตัวกลาง ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ไม่มีใครคนใดคนหนึ่ง จะสามารถมีอำนาจแทรกแซง อำนาจในการควบคุม และใช้งานเงินของคุณได้

Bitcoin ทำให้ทุกคนสามารถที่จะทำธุรกรรมกับใครก็ได้ ทั่วโลก โดยไม่มีข้อแม้ ไม่มีการตรวจสอบ ปิดกั้น หรือควบคุม แต่ยังสามารถคงไว้ซึ่งความปลอดภัย โปร่งใส และสะดวกสบายได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

Bitcoin ให้อธิปไตยทางการเงิน คืนสิทธิในการถือครองและเก็บรักษาสินทรัพย์ของตนเอง โดยที่ไม่สามารถมีธนาคาร รัฐบาล หรือตัวกลางใดเข้ามา ยุ่งเกี่ยว ลดค่า ขโมย หรือ แทรกแซงได้

อธิปไตยในการถือครองทรัพย์สิน เป็นหนึ่งในความต้องการพื้นฐานของสังคมมนุษย์ ที่ยากที่จะประเมินค่าได้ และการขุด ก็เป็นกลไกสำคัญตัวหนึ่ง ที่ทำให้มันเกิดขึ้นได้

แล้วสรุปมัน “แพง” หรือไม่?

เมื่อพิจารณาถึงบทบาท และหน้าที่ของ ‘การขุด’ Bitcoin แล้ว เราจะเห็นได้ว่า การนำเอาพลังงานที่ใช้มาเปรียบเทียบเพียงด้านใดด้านหนึ่งนั้น นอกจากจะเป็นวิธีที่ไม่ฉลาดแล้ว ยังนำมาสู่ความเข้าใจผิดได้อีกด้วย

การเปรียบเทียบที่ดีกว่า จึงอาจมองได้ว่า ค่าใช้จ่ายและพลังงานที่เสียไปนั้น เพื่อที่จะสร้างระบบที่ให้อธปไตยทางการเงินแก่ทุกคน ทำให้สามารถทำธุรกรรมได้โดยไม่มีข้อจำกัดของตัวกลาง สร้างความปลอดภัย และความมั่นคงให้กับระบบ และสร้างระบบการกระจายรายได้อย่างยุติธรรม จะเป็นการเปรียบเทียบที่ถูกต้องกว่า

แต่อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบตามคุณประโยชน์ตามที่ยกตัวอย่างมาในบทความนี้ ก็ไม่สามารถที่จะทำได้อย่างตรงไปตรงมา เนื่องจาก

⭐ ค่าใช้จ่ายในการทำให้ระบบการเงินปัจจุบัน กระจายอยู่ในหลายส่วน ตั้งแต่พลังงานที่ใช้เลี้ยงระบบ ไปจนถึงพลังงานที่ใช้ในการผลิตอาหารให้พนักงานที่เกี่ยวข้องใช้ดำรงชีวิต ก็จะต้องนำมาคิดทั้งหมด เนื่องจากนั่นคือสิ่งที่ Bitcoin เข้ามาทดแทน แต่..

⭐ Bitcoin ก็ไม่ได้ทดแทนระบบธนาคารทั้งหมด 100% ยังมีอีกหลายส่วนที่ Bitcoin ในรูปแบบของ Protocol ยังไม่สามารถที่จะทำหน้าที่แทนธนาคารหรือธนาคารกลางได้ เช่นการ Finance หรือการเป็น Lender of last resort เป็นต้น และ

⭐ ระบบที่มีอยู่ของธนาคารเอง ก็ไม่ได้เท่าเทียมกับระบบของ Bitcoin การเข้ารหัสของ Bitcoin ยังไม่มีใครสามารถที่จะถอดรหัสเพื่อเข้าถึง Private Keys ได้ ต่างจากระบบ IT ของธนาคารที่ถูกเจาะทะลุทะลวงไปได้หลายต่อหลายครั้ง แถม

⭐Bitcoin เองก็ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา โดยแนวโน้มของการพัฒนาทั้งทางด้าน Software และ Hardware ควรจะส่งผลให้อัตราเร่งของการใช้พลังงาน ลดลงในอนาคต ซึ่งเราได้เห็นการลดลงของความชันบนกราฟที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราการใช้พลังงานของระบบ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 เมื่อ Segwit เริ่มการใช้งาน

จึงจะเห็นได้ว่า การจะเปรียบเทียบกันตรงๆในประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องที่เกือบเป็นไปไม่ได้เลยเสียด้วยซ้ำ และ ข้อสรุปของคำถามที่ว่า การขุด Bitcoin นั้น เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานหรือไม่ อาจไม่ใช่คำถามที่ตอบได้ตรงๆ แต่คงจะเป็นประโยชน์มากกว่า ถ้าเราจะสามารถเปิดใจ และทำความเข้าใจกับมัน

“For every complex question, there is a simple answer, and it’s wrong.”

Right Shift

Right Shift Co., Ltd. Official Team

** ทุกบาทหรือทุกซาโตชิที่ donate จะถูกส่งเข้ากระเป๋าของผู้เขียนโดยตรงครับ :) **

Share this post

Leave a Reply

Connect with

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Related Posts

บิตคอยน์
Opinion
Right Shift

บิตคอยน์ เครือข่ายเส้นใยเห็ดราแห่งระบบการเงิน – บทที่ 4 : บิตคอยน์คือตัวเร่งวิวัฒนาการของเผ่าพันธุ์มนุษย์ (เหมือนการพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิต)

สำรวจบิตคอยน์ผ่านมุมมองของการคัดเลือกทางธรรมชาติ การวิวัฒนาการ และความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน (หรือภาวะซิมไบโอซิส)

Read More »
rabbit whole
Technical & Fundamental
Right Shift

คู่มือเข้าสู่โพรงกระต่าย สำหรับผู้ที่เริ่มสนใจบิตคอยน์ : The Bitcoin Manual

Bitcoin Manual eBook ฉบับภาษาไทย มีเป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งข้อมูล คำแนะนำเบื้องต้นง่าย ๆ สำหรับมือใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นการเดินทางในโลกบิตคอยน์ ครบถ้วน ครอบคลุม และสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย

Read More »
ฟังไจ
Opinion
Right Shift

บิตคอยน์ เครือข่ายเส้นใยเห็ดราแห่งระบบการเงิน – บทที่ 3 : บิตคอยน์คือแอนตี้ไวรัส (เหมือนยา)

มาสำรวจภาพรวมของสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์พร้อมต่อการเติบโต และความสามารถในการเอาตัวรอดขั้นสูงสุดของบิตคอยน์ผ่านมุมมองของฟังไจ (ระบบการทำงานของเห็ดรา) เครือข่ายสิ่งมีชีวิตที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี และทำไมสิ่งเหล่านี้ถึงทำให้บิตคอยน์กลายเป็นยาต้านไวรัสของระบบการเงินโลกที่ล้มเหลว ทางออกเดียวของมวลมนุษยชาติ มาร่วมหาคำตอบกันได้ในบทความนี้ครับ

Read More »
ฟังไจ
Opinion
Right Shift

บิตคอยน์ เครือข่ายเส้นใยเห็ดราแห่งระบบการเงิน – บทที่ 2 : บิตคอยน์เป็นสิ่งมีชีวิตเชิงสังคม (เหมือนเห็ด)

มาค้นหาคำตอบว่า บิตคอยน์ นั้นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างไร ด้วยการพิจารณาผ่านมุมมองของเห็ดที่น่าพิศวง สำรวจวงจรการเกิดใหม่ (หรือ Hype Cycles) เห็ดราวิทยาในวิถีชีวิต (หรือ Ethnomycology) และเหล่ากลุ่มสาวกลัทธิซาโตชิ

Read More »