KM (1) (1)
Picture of ljungdurst

ljungdurst

A senior copywriter and football columnist turned junior bitcoiner—thanks to inspirations from "Ajarn Piriya" his Architectural and Planning Faculty's senior turned bitcoin grandmaster who's been advocating the given subject for almost a decade. Now his life's calling is clear: orange-pilling the world.

คาร์ล มาร์กซ์ ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์

คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) เป็นนักสังคมวิทยาและนักปรัชญา แต่ทว่าบางคนกลับมองว่าแกเป็นนักเศรษฐศาสตร์ด้วย บทความนี้จะมาโต้แย้งและซัดมุมมองพวกนั้นให้สิ้นซาก

เรียบเรียงจากบทความต้นฉบับเรื่อง Karl Marx Was Not An Economist ของคุณ Yash Dubey

คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) คือชื่อที่โด่งดังมากในแวดวงสังคมศาสตร์ และด้วยความที่แกจัดเป็นนักปราชญ์คนหนึ่งแห่งศตวรรษที่ 19 ทำให้ชื่อของ คาร์ล มาร์กซ์ ยังถูกหยิบยกมาถกเถียงในประเด็นการเมืองอยู่เนือง ๆ คาร์ล มาร์กซ์ ถือกำเนิดในประเทศเยอรมนี แต่ต้องพลัดถิ่นอพยพไปอาศัยในกรุงลอนดอนพร้อมกับครอบครัว และแม้ตัวแกจะเป็นนักสังคมวิทยาและนักปรัชญา แต่ทว่าบางคนกลับยกให้แกเป็นนักเศรษฐศาสตร์ด้วย

บทความนี้จะมาโต้แย้งและซัดมุมมองพวกนั้นให้สิ้นซาก

เศรษฐศาสตร์ เป็นเรื่องการบริหารจัดการปัญหาด้านทรัพยากร เนื่องจากทรัพยากรนั้นมีอยู่จำกัด มันจึงต้องถูกจัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพให้กับทุกคนที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมในสังคม และเมื่อเศรษฐศาสตร์ถือเป็นองค์ความรู้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว มันจึงเป็น “สังคมศาสตร์” แขนงหนึ่ง และเนื่องจากไม่มีใครในโลกนี้มีความสามารถพอที่จะจัดสรรทรัพยากรแทนคนอื่นได้ ฉะนั้นการปล่อยให้กลไกตลาดทำหน้าที่ของมันไปจึงจะเป็นการดีที่สุด ซึ่งกลไกดังกล่าวอาจเรียกว่า “The Invisible Hand” หรือ “มือที่มองไม่เห็น”

นักเศรษฐศาสตร์มากมายเชื่อมั่นว่ากลไกตลาดคือสิ่งที่จัดสรรทรัพยากรได้ดีที่สุด โดยมีงานเขียนของ ลุดวิก ฟอน มิเซส และ ฟรีดริช ฮาเย็ก ที่ช่วยให้ความกระจ่างในแนวคิดปัญหาการจัดสรรทรัพยากรและการกระจายความรู้ในการจัดสรรทรัพยากร (Calculation and Knowledge Problem) แต่ทว่าบิดาลัทธิมาร์กซิสม์กลับไม่เชื่อในกลไกตลาด เพราะประเด็นหลักที่แกเพ่งเล็งคือเรื่อง “ทุน” ทั้งที่ตั้งแต่ยุคก่อนอดัม สมิธ หรือยุคโบราณกว่านั้น พื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ก็ประกอบไปด้วยทุน การเก็บออม การลงทุน ราคา เงิน อุปสงค์ อุปทาน ผู้บริโภค ผู้ผลิต กำไร ฯลฯ ซึ่งบิดาเคราครึ้มไม่เคยพูดถึงอะไรพวกนี้เลย

แม้เนื้อหาในหนังสือ Capital (ทุน) ของคาร์ล มาร์กซ์จะฟังดูฉลาดขนาดไหน แต่ประโยชน์ของมันที่มีต่อเศรษฐศาสตร์นั้นเรียกได้ว่าไม่มี ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันไม่เคยมองว่าคาร์ล มาร์กซ์มีตัวตนด้วยซ้ำ

และแม้แนวคิดของนายมาร์กซ์จะมีการนำมาถกกันเชิงเศรษฐศาสตร์ในสมัยก่อน แต่ทุกวันนี้ไม่มีใครพูดถึงแนวคิดพวกนี้แล้ว เศรษฐกิจเดินอยู่ได้ด้วยผลกำไรและทุน สองปัจจัยนี้มอบอำนาจให้ผู้บริโภคและกระตุ้นการสร้างผลิตผล ในขณะที่นายมาร์กซ์กลับมองว่า “กำไรคือการเอาเปรียบ” ทั้งตัวแกและเหล่าสาวกต่างก็มองว่าการทำงานและผลผลิตของแรงงานนั้นถูกนายทุนกินรวบไปเกือบหมด สาเหตุเพียงเพราะนายทุนคือเจ้าของทุน

แต่นายมาร์กซ์จงใจไม่พูดถึงความเสี่ยงของการทำธุรกิจในตลาดที่มีการแข่งขัน เพราะการสะสมพอกพูนเงินทุนนั้นต้องเผชิญความไม่แน่นอน และไม่ใช่ทุกการลงทุนจะให้ผลตอบแทนกลับมาเสมอไป ซึ่งแปลว่าการทำธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงและต้องการทักษะการลงทุนเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งในตลาด

นายมาร์กซ์ยังบอกอีกว่าเมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น มันจะเข้ามาแย่งงานผู้ใช้แรงงานและเพิ่มอัตราผลกำไรให้กับนายทุน ความเชื่อนี้เกิดขึ้นในยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มแพร่หลายในประเทศอินเดีย และทำให้กลุ่มผู้ประท้วงซึ่งนำโดยพวกคอมมิวนิสต์บุกเข้าไปทำลายเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่พอเราตัดภาพมา ณ ปัจจุบัน.. ธุรกิจภาคบริการกลายเป็นแกนหลักของเศรษฐกิจอินเดีย รวมทั้งธุรกิจด้านไอทีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว มันสร้างโอกาสในการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากมาย เพราะธุรกิจเกี่ยวกับไอทีนั้นส่งเสริมธุรกิจด้านบริการได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เคยกลัวกันว่าจะมาแย่งงานผู้คน ทุกวันนี้มันคือความหวังสำหรับการจ้างงานในประเทศอินเดีย เพราะมันไม่ได้แค่สร้างงาน แต่มันสร้างงานชั้นดีที่ต้องใช้ทักษะและฝีมือสูงกว่างานในอดีตอีกด้วย

นอกจากนี้การพัฒนาเทคโนโลยียังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และเมื่อสร้างผลผลิตได้มาก การจ้างงานก็ยิ่งมากขึ้นตาม ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับที่นายมาร์กซ์อ้าง เพราะนายเคราดกใช้โมเดลที่ตายตัวในการวิเคราะห์ โมเดลแบบที่ว่ามันใช้งานง่ายมากในการคำนวณหรือคาดการณ์อนาคต แต่ในความเป็นจริงคือมนุษย์เราไม่ได้มีความคงที่ตายตัวตลอดไป นายมาร์กซ์มองข้ามความสำคัญของการมีอยู่ของผู้ประกอบการและผู้บริโภคในตลาด เพราะมัวแต่โฟกัสไปที่แรงงานและชนชั้นกลางที่ชั่วร้าย แต่ดันไม่สำเหนียกเลยว่าการตัดสินใจของผู้บริโภคต่างหากที่ชี้นำว่าตลาดต้องพัฒนาไปในทิศทางไหน

ส่วนเรื่องใครควรได้ค่าตอบแทนเท่าไหร่ ไม่ใช่เรื่องที่จะให้คนอื่นมาตัดสิน (โดยเฉพาะนักการเมืองหรือนักวิชาการได้โปรดอย่าจุ้น!) นายมาร์กซ์เหมือนด่วนสรุปว่าเจ้าของเงินทุนไม่ทำงาน ทั้งที่จริง ๆ แล้วการตัดสินใจต่าง ๆ ของนายทุนต้องใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นนั้น ทั้งเรื่องของจังหวะเวลาและสถานที่ ซึ่งไม่ใช่ความรู้ที่จู่ ๆ ใครก็จะมีได้ง่าย ๆ แต่นายมาร์กซ์กลับเลือกมองเหรียญเพียงด้านเดียว โดยไม่สนใจว่านายทุนเองก็มีโอกาสจะสิ้นเนื้อประดาตัวเช่นกัน

นายมาร์กซ์ก็แค่ต่อต้านผลกำไรเท่านั้นแหละ เพราะต่อให้นายทุนเจ๊ง แรงงานก็ยังได้ค่าแรงและเลือกย้ายที่ทำงานได้ แต่ผลกำไรนั้นไม่เคยแน่นอน ตรงข้ามกับค่าแรงและเงินเดือนที่ต้องจ่ายแน่ ๆ เสมอ ดังนั้นนายทุนจึงมีความเสี่ยงสูงกว่า และสมควรได้รับผลตอบแทนมากกว่า ประเด็นเหล่านี้สมควรต้องเป็นที่ยอมรับเสียที เพราะกำไรไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ และเมื่อมันเกิดแล้ว กำไรบางส่วนจะถูกแบ่งไปลงทุนเพิ่ม ซึ่งหมายถึงการสร้างงานใหม่ ๆ เพิ่มอีกด้วยนั่นเอง

แต่ก็จริงเช่นกันที่ระบบทุนนิยมผูกขาดนั้นมีความไม่ยุติธรรม เพราะแม้จะได้ชื่อว่าเป็น “ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม” แต่หัวใจของการแข่งขันและอำนาจของผู้บริโภคนั้นโดนกระทืบทิ้งไปแล้ว และแม้สาวกลัทธิมาร์กซิสม์จะต่อต้านการผูกขาดเช่นกัน แต่พวกเขาต่างจากผู้ชื่นชอบในตลาดเสรี เพราะสาวกมาร์กซ์ต้องการให้มีการออกกฎหมายควบคุมตลาดมากขึ้นไปอีก ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์อย่าง มิเซส และ ฮาเย็ก เคยพิสูจน์ให้เห็นมาแล้ว ว่าวิธีคิดแบบนี้มันผิดเพี้ยนจากความจริง

ประเด็นถกเถียงโต้แย้งแนวคิดสังคมนิยมนั้นเริ่มมาจากแนวคิดปัญหาแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ (Incentive Problem) จนพัฒนาสู่แนวคิดปัญหาการจัดสรรทรัพยากรและการกระจายความรู้ในการจัดสรรทรัพยากร (Calculation and Knowledge Problem) และปัญหาเรื่องแรงจูงใจส่วนบุคคล (Self-interest Problem) ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเลยที่นักสังคมนิยมทั้งหลายไม่เคยตอบคำถามโต้แย้งแนวคิดพวกเขาได้ และมักเลือกที่จะหลบซ่อนตัวอยู่หลังคำว่า “ศีลธรรม”

เท่านั้นไม่พอ นักสังคมนิยมก็ไม่เคยพัฒนาแนวคิดตัวเองให้พ้นจากภาพทุ่งลาเวนเดอร์ของระบอบสังคมนิยมเลย ทั้งที่มันคือการหลอกลวงให้ประชาชนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่มองไม่เห็นช่องโหว่มหึมาของแนวคิดสุดโต่งนั้น มันโคตรเศร้าที่แม้ลัทธิสังคมนิยมจะล้มเหลวมานับไม่ถ้วนตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ แต่ก็ยังมีสาวกของเจ้าพ่อลัทธินี้อย่างคาร์ล มาร์กซ์เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ

คือทฤษฎีต่าง ๆ ของแกอาจเป็นส่วนหนึ่งในการถกเถียงเชิงรัฐศาสตร์หรือสังคมวิทยาได้ แต่ประโยชน์ของแนวคิดแกมีต่อเศรษฐศาสตร์นั้นคือศูนย์

เศรษฐศาสตร์ใช้จัดการกับสิ่งที่มันเป็นอยู่และเป็นไป ไม่ใช่เอามาใช้บงการว่ามันควรเป็นแบบไหน คาร์ล มาร์กซ์เป็นนักคิดก็จริง และการที่เขาถ่ายทอดแนวคิดออกมาได้ชัดเจนก็ถือว่าน่ายกย่อง แต่สิ่งอื่นนอกเหนือจากนั้น.. “ข้อสรุปของแกนั้นมั่ว” และการจะนำทฤษฎีของแกมาใช้งานจริงจะนำมาซึ่งความบัดซบและความฉิบหายให้มนุษย์ ฉะนั้นอย่าให้ใครมาหลอกคุณได้เด็ดขาด เพราะคาร์ล มาร์กซ์ไม่มีทางได้รับการยอมรับว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ไม่ว่าจะยุคนี้หรือยุคไหน

ย้ำอีกครั้ง “คาร์ล มาร์กซ์ ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์” ขอบคุณครับ.

ถ้าพวกนักสังคมนิยมมีความเข้าใจในเศรษฐศาสตร์ พวกเขาคงไม่เป็นนักสังคมนิยมแต่แรก

ljungdurst
ljungdurst

A senior copywriter and football columnist turned junior bitcoiner—thanks to inspirations from "Ajarn Piriya" his Architectural and Planning Faculty's senior turned bitcoin grandmaster who's been advocating the given subject for almost a decade. Now his life's calling is clear: orange-pilling the world.

** ทุกบาทหรือทุกซาโตชิที่ donate จะถูกส่งเข้ากระเป๋าของผู้เขียนโดยตรงครับ :) **

Share this post

Leave a Reply

Connect with

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Related Posts

สาเหตุคนมีลูกกันน้อยลง
Fiat

“เงินเฟียต” สาเหตุน่ารังเกียจที่ทำให้คนมีลูกน้อยลง (Fiat Has Debased Having Children)

เมื่อโครงสร้างสถาบันครอบครัวที่อุ้มชูมนุษย์มาตลอดถูกแทนที่ด้วยพฤติกรรมแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกิน (rent-seeking) และการพึ่งพิงสวัสดิการจากรัฐ คุณค่าของครอบครัวก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

Read More »
honey badger bitcoin digital art
Opinion

6 เหตุผลที่บิตคอยน์คือตัวฮันนี่แบดเจอร์แห่งเงิน

ตัวฮันนี่แบดเจอร์ (honey badger) นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องความอึดตายยากและความแข็งแกร่งสมบุกสมบันยิ่งกว่าอะไร และนี่คือ 6 เหตุผลว่าทำไมลักษณะอันน่าทึ่งของมันถึงเอามาเปรียบเทียบกับบิตคอยน์ (Bitcoin) ได้เป็นอย่างดี

Read More »
nayib bukele
Bitcoin Adoption

“เลิกหลงเชื่อคำลวงของพวกอีลีทได้แล้ว” นายิบ บูเคเล่ ผู้นำเอลซัลวาดอร์

ถามตัวคุณเองว่าทำไมพวกอีลีทมากอำนาจทั้งหลายในโลกถึงต่อต้านการใช้งานบิตคอยน์ของประเทศเล็ก ๆ อย่างเอลซัลวาดอร์? ทำไมพวกเขาถึงต้องแคร์?

Read More »
Fiat

ความจริงอันเน่าเฟะของที่ดิน และ อสังหาริมทรัพย์ (Fiat Reality of Real Estate)

เมื่อที่อยู่อาศัยของมนุษย์กลับกลายเป็นการลงทุน และสินทรัพย์สำหรับเก็บรักษามูลค่า (store of value) สิทธิ์ในการครอบครองที่ดินและอสังหาริมทรัพย์จึงถูกบิดเบือนและควบคุมโดยอำนาจรัฐ

Read More »