DF98796B-CC9D-4627-94FC-7EF2DA5A75F9.jpeg
Picture of WTIN Publisher

WTIN Publisher

เงินตราในสมัยสงครามโลก บาดแผลทางเศรษฐกิจในประวัติศาสตร์พม่า

เงินเคยกลายเป็นเพียงกระดาษปลิวเกลื่อนถนนในพม่า.. พม่าเคยตกอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมทางการเงินของใครมาก่อนบ้าง.. และสงครามโลกได้เปลี่ยนประวัติศาสตร์ทางการเงินของพวกเขาไปอย่างไร?

พม่าก่อนอังกฤษยึดครองเป็นเส้นทางค้าขายทางบก คนพม่ามีศรัทธาในศาสนา ชอบทำบุญมากกว่าสะสมความร่ำรวย แต่บางกลุ่มชาติพันธุ์ก็ชอบค้าขาย พม่าใช้เหรียญเงินที่ออกโดยรัฐบาลเพื่อแลกเปลี่ยน กษัตริย์พม่าเป็นผู้ผูกขาดการส่งออกทรัพยากรมีค่า เช่น อัญมณี ไม้สัก

กองทัพอังกฤษบุกยึดพม่าสำเร็จในประมาณปี 1885 และให้พม่าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย (ในขณะนั้นอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ) และใช้เงินตราของอินเดียคือ Indian Rupee ซึ่งเป็นเหรียญเงินเช่นเดียวกัน ซึ่งมีอัตราไม่ต่างกันมากและประชาชนคุ้นเคยอยู่แล้ว ต่อมาอังกฤษสั่งแยกพม่าออกจากอินเดียจึงสั่งให้ใช้ธนบัตรพม่า แต่ผู้ออกยังเป็นธนาคารกลางของอินเดีย พม่าจึงยังคงโดนควบคุมทางการเงินทั้งจากอินเดียและอังกฤษ

ช่วงที่อังกฤษปกครองพม่า มีชาวอินเดีย ชาวจีน และชนชาติต่างๆ เข้าไปทำงานในพม่าจำนวนมาก มีการตั้งบริษัทสำรวจและผลิตวัตถุดิบและสินค้าต่างๆ การค้าขายเฟื่องฟู พม่าได้ชื่อว่าเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 เป็นดาวรุ่งแห่งเอเชีย เมืองย่างกุ้งเติบโตเป็นเมืองท่าที่เจริญและหรูหรา

ดูเหมือนจะดี.. แต่อินเดียในขณะนั้นถูกอังกฤษกำหนดว่า ผู้ซื้อสินค้าจากอินเดียจะต้องจ่ายด้วยกระดาษ Council Bills ซึ่งออกโดยอังกฤษ อังกฤษก็จะรับ ทอง เงิน และสกุลเงินมีค่าไว้ ในขณะที่อินเดียจะได้กระดาษรับรอง ซึ่งเป็นตัวแทนของทองและเงินที่อังกฤษเก็บไว้ เศรษฐกิจอินเดียรวมถึงพม่าในขณะนั้นจึงถูกหมุนเวียนด้วยมูลค่าซึ่งต้องผูกกับรัฐ ในขณะที่อังกฤษได้รับความมั่งคั่งจริงไป

ประชาชนในอินเดีย พม่า และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จะรู้ทันกลนี้หรือไม่ก็ตาม ก็หาหนทางที่จะประกาศเอกราชจากอังกฤษอยู่แล้ว มีการลุกฮือขึ้นหลายครั้งแต่ไม่สามารถสู้กองทัพอังกฤษได้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เข้าต่อสู้กับการปกครองของอังกฤษในพม่า กองทัพอังกฤษเห็นว่าชนะไม่ได้ จึงสั่งเผาทำลาย (Scorched Earth) โครงสร้างพื้นฐานเพื่อไม่ให้ตกถึงมือญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นชนะอย่างงดงาม และปลดปล่อยพม่าเป็น State of Burma ในปี 1943 มีประกาศให้ใช้สกุลเงินใหม่ซึ่งเป็นกระดาษ (ไม่มีเหรียญ เพราะต้องใช้โลหะในสงคราม) กองทัพญี่ปุ่นยังใช้สกุลเงินญี่ปุ่นซึ่งไม่ใช่สกุลเงินเยน แต่ถูกผลิตแยกเฉพาะ เพื่อหมุนเวียนในประเทศที่ยึดได้ และยังมีเงิน Military yen ซึ่งใช้จ่ายเป็นค่าจ้างให้ทหารอีกด้วย ทำให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นทั่วไป สกุลเงินเหล่านี้ไม่มีการรับประกันใดๆ นอกจากประกาศของรัฐ

ญี่ปุ่นกำหนดให้เงินชนิดนี้มีค่าเท่ากับ 1 เยน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในเขต Greater East Asia Co-Prosperity Sphere (วงศ์ไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา) แจกจ่ายออกมาซื้อของโดยสัญญาว่าจะจ่ายเป็นเงินเยนทีหลัง ธุรกิจในพม่าที่ยังเหลือรอดก็ต้องรับและเป็นผู้สะสมไว้โดยปริยาย

เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้ สกุลเงินที่ญี่ปุ่นออกมาใช้ในพม่าก็กลายเป็นกระดาษปลิวเกลื่อนถนน…

หลังสิ้นสงคราม พม่าได้รับเอกราชและมีการปกครองตนเองตามลำดับ เนื่องจากธุรกิจต่างๆ เสียหาย โครงสร้างพังพินาศ เงินในประเทศก็กลายเป็นกระดาษ เงินที่พอจะดึง ได้อยู่ในมือผู้ประกอบการต่างชาติซึ่งเคยทำธุรกิจอยู่เดิม แต่ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวแล้วจึงไม่ได้รับความไว้วางใจมากนัก รัฐบาลเชื่อว่าสามารถสร้างชาติได้ด้วยตนเอง และใช้อำนาจเต็มที่ ยึดกิจการต่างๆ มาเป็นของรัฐ และเข้าสู่เส้นทางสังคมนิยม…

คัดลอกจากบทความที่เผยแพร่แล้วในเพจ WT Investment Note เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น

บรรณานุกรม

Chotisut, K. (2019). Myanmar Banknotes and Changing Nationhood: From the Colonial Period to Present-Day. Thai Journal of East Asian Studies, 23(2), 102–120. Retrieved from

DIEHL, A. (2022). The Burma currency board. Journal Of Economics Library, 9(3), 178-197.

Huff, G., & Majima, S. (2013). Financing Japan’s World War II Occupation of Southeast Asia. The Journal of Economic History, 73(4), 937–977.

Mayland, O. (n.d.). Myanmar. Global Financial Data. Retrieved November 10, 2022, from

How the British impoverished India. Hindustan Times. (2018). Retrieved November 10, 2022

Hickel, J. (2018). How Britain stole $45 trillion from India. Conflict | Al Jazeera. Retrieved November 10, 2022

Odaka, K.. (2015). The Myanmar economy: Its past, present and prospects. 10.1007/978-4-431-55735-7.

Steinberg, D. I.(2013). Burma/Myanmar: What everyone needs to know. Oxford University Press

รูป : The Photographer Kneels on a Street Littered with Japanese Invasion Money โดย Frank Bond

WTIN Publisher

** ทุกบาทหรือทุกซาโตชิที่ donate จะถูกส่งเข้ากระเป๋าของผู้เขียนโดยตรงครับ :) **

Share this post

2 Comments

  1. หวังว่าจะนำผลงานมาลงให้ได้อ่านกันเรื่อยๆ นะครับ ส่วนตัวก็ชอบบทความแนว Historical คับ

Leave a Reply

Connect with

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Related Posts