20220606_btcfinal_best-fixing-lightning-gossip-protocol-privacy-shinobi.png
ljungdurst

ljungdurst

A senior copywriter and football columnist turned junior bitcoiner—thanks to inspirations from "Ajarn Piriya" his Architectural and Planning Faculty's senior turned bitcoin grandmaster who's been advocating the given subject for almost a decade. Now his life's calling is clear: orange-pilling the world.

อะไรคือภาษาของระบบอินเทอร์เน็ต? (The Language of the Internet)

"Data" คือ “ข้อมูล” ที่ถูกแปลให้อยู่ใน “รูปแบบ” ที่ถูกส่งต่อและประมวลต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบที่ว่าก็คือ "ภาษา" ..ถ้า “data” เป็นเหมือนกระแสเลือดหล่อเลี้ยงอินเทอร์เน็ตทั้งโลก แล้วอะไรคือ “ภาษา” ของระบบอินเทอร์เน็ต?

Table of Contents

Internet is communication technology

มันเริ่มต้นขึ้นด้วยสายเคเบิ้ลที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ไปตลอดกาล

ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 มีการพยายามวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างประเทศไอร์แลนด์ไปยังสหรัฐอเมริกา แต่มนุษย์ก็ล้มเหลวไม่เป็นท่านับครั้งไม่ถ้วน มีบริษัทมากมายล้มละลายจากธุรกิจนี้

จนกระทั่ง 10 ปีให้หลัง ความพยายามก็ประสบผล

วันที่ 27 ก.ค. 1866 พระราชินีวิกตอเรียส่งข้อความผ่านสายเคเบิ้ลไปยังประธานาธิบดีแอนดรูว จอห์นสันได้สำเร็จ ต้นกำเนิดของการรับส่ง data ข้ามไปอีกมุมโลกก็อุบัติขึ้น และมันคือร่างแบเบาะของระบบอินเทอร์เน็ต..

“Waiting the Reply” Robert Dudley. Financier Cyrus Field and his colleagues await the result of the first transatlantic message, sent in 1866.

The Cable

ในยุคสมัยดังกล่าว การส่งข้อความผ่านทางเรืออาจกินเวลา 10 วัน เป็นอย่างน้อย แต่การมาถึงของสายเคเบิ้ลข้ามมหาสมุทรช่วยให้การส่งข้อความใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที จนมีคำโฆษณาที่ว่า “ย่นสองสัปดาห์มาอยู่ในสองนาที” จากนั้นความเร็วในการส่งข้อความก็พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการส่งรหัสมอร์สก็กลายมาเป็นการส่งข้อความปกติได้ และในที่สุดเราก็สามารถส่งข้อความหลายข้อความได้ในครั้งเดียว

ในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 19 บริเตน, ฝรั่งเศส, เยอรมนี และสหรัฐอเมริกาก็เชื่อมต่อถึงกันหมดผ่านสายเคเบิ้ล ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การค้า และการเมือง ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

แต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะถูกส่งผ่านเคเบิ้ลได้

ในยุคนั้น ทองคำยังถูกใช้เป็นเงิน และตั๋วแลกทองคำก็ยังถูกใช้แทนเงิน แม้คุณจะส่งทองคำหรือตั๋วแลกทองคำผ่านสายเคเบิ้ลข้ามมหาสมุทรไม่ได้ แต่คุณยังส่ง “คำสัญญา” ให้แก่บุคคลอื่นในอีกทวีปได้ และตั้งแต่วินาทีที่ข้อความของควีนวิกตอเรียส่งผ่านสายเคเบิ้ลไปถึงอเมริกาสำเร็จ คือวินาทีที่ทั้งสองประเทศต่างมีความเชื่อใจกัน จนก่อให้เกิดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินดอลลาร์กับสกุลเงินปอนด์ และมีการประกาศถึงการเกิดขึ้นของอัตราแลกเปลี่ยนนี้อย่างเป็นทางการผ่านหนังสือพิมพ์ The Times ในวันที่ 10 สิงหาคม 1866

และนั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมทุกวันนี้เราถึงเรียกอัตราแลกเปลี่ยน GBPUSD (Great Britain pound/US dollar) ว่า “the cable”

Promises & Writing

อดัม สมิธ นักปรัชญาเศรษฐศาสตร์เคยกล่าวไว้ว่า “เงินทุกชนิดคือความเชื่อใจ” ไม่เชื่อคุณก็ลองหยิบธนบัตรออกมาดูสักใบสิ คุณจะเห็นคำพูดประมาณว่า “ฉันสัญญาว่าจะชำระหนี้ให้ผู้ถือธนบัตรนี้”

เงินคือคำมั่นสัญญา แต่ก็แน่นอนว่าคำสัญญานั้นไม่จีรัง ต่างจากทองคำที่ยืนยง และสองสิ่งนี้เป็นเงินที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะสิ่งหนึ่งคือลมปาก ในขณะที่สิ่งหนึ่งนั้นจริงแท้

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มแรกของความรุ่งเรืองในอารยธรรมมนุษย์ เราก็ใช้ “เงินลมปาก” (promissory money) กันมาตลอด ตั้งแต่สมัยเมโสโปเตเมียเราก็ใช้เหรียญดินเหนียวที่เป็นรูปโคนหรือวงกลม เพื่อแสดงถึงจำนวนแกะหรือข้าวสาลีที่จะชำระหนี้ให้ จนในที่สุดเราก็ค้นพบวิธีที่ดีกว่าการปั้นและเผาดินเหนียวเป็นรูปต่าง ๆ นั่นคือวิธีการพิมพ์ภาพลงไปในเหรียญดินเผาแทน

และนี่เองคือจุดกำเนิดของ “ระบบการเขียน”

ในสมัยจีนโบราณ ผู้คนจะเขียนบันทึกหนี้ลงบนหนังสัตว์ จนกระทั่งมีการคิดค้นกระดาษ พวกเขาก็เขียนบันทึกหนี้ลงกระดาษแทน และในยุคปัจจุบันนี้ เงินลมปากก็เปลี่ยนรูปแบบมาถูกเขียนบันทึกและแลกเปลี่ยนกันบนระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลที่สาม (third parties)

Remove 3rd Parties

หลายพันล้านคำมั่นสัญญาถูกส่งให้กันผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในทุกวินาที ทำให้นอกจากเงินลมปากจะต้องพัฒนาตัวเองไปกับเทคโนโลยีการสื่อสารแล้ว หลายต่อหลายครั้งตัวมันเองนี่แหละที่เป็นหัวหอกสำคัญในการผลักดันให้เทคโนโลยีการสื่อสารต้องพัฒนาตัวเองด้วย

และตอนนี้ “บิตคอยน์” ร่วมกับระบบบล็อกเชน ทำการดึง “บุคคลที่สาม” (third parties) ออกไปจากเทคโนโลยีดังกล่าวโดยสิ้นเชิง

นี่คือหนึ่งในหลายสาเหตุที่ทำไมมันถึงพิเศษที่สุด บิตคอยน์เป็นเครือข่ายการสื่อสารของเงินที่ได้รับการคุ้มครองด้วยหลักคณิตศาสตร์ และยังได้รับการคุ้มครองด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังและทำลายยากที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยรู้จักอย่างบล็อกเชน

ด้วยเหตุผลข้างต้น ทำไมคุณถึงจะไม่อยากมีส่วนในเทคโนโลยีพลิกโลกตัวนี้ สักนิดก็ยังดี?

เพราะการเป็นเจ้าของบิตคอยน์แม้เพียงเล็กน้อย ก็หมายถึงการมีส่วนแบ่งในเทคโนโลยีใหม่ของเงิน

และเทคโนโลยีเงินนั้นเมื่อเกิดแล้ว มันจะไม่มีวันถอยหลังกลับอีกต่อไป…

Money evolves like language

ประเด็นหลักของเรื่องนี้ก็คือ ถ้าคุณต้องการส่ง “คำสัญญา” ที่สำคัญมาก ๆ คุณก็ต้องการเครื่องมือการสื่อสารที่ดี แล้วเงินคืออะไรล่ะ มันก็คือ “รูปแบบ” หนึ่งของการสื่อสารนั่นเอง

ไม่เชื่อลองฟังสิ่งนี้..

มีคำกล่าวว่าถ้าจะดูสันดานนักการเมือง อย่าดูว่าเขาพูดอะไร แต่ให้ดูว่าเขาทำอะไร เพราะสิ่งที่บอกตัวตนของเราได้มากที่สุดก็คือสิ่งที่เราทำ ไม่ใช่สิ่งที่เราพูด โดยเฉพาะสิ่งที่เราทำกับเงินนั้นยิ่งบอกตัวตนเราได้ดีที่สุด และสิ่งที่เราทำกับเงินนั้นยังสื่อสารถึง “มูลค่า” (value) ซึ่งไม่ใช่แค่การสื่อสารคุณค่าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเท่านั้น แต่เป็นการสื่อสารไปทั้งระบบเศรษฐกิจ

คุณจะบอกได้ยังไงว่าของสักชิ้นควรมีราคาเท่าไหร่? หรือของชิ้นไหนควรมีมูลค่าแค่ไหน?

คำตอบของคำถามนี้ก็ถูกสื่อสารรับส่งกันอยู่เป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว และระบบเศรษฐกิจนั้นเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาตามสัญญาณต่าง ๆ ที่มันได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องว่าควรผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตทำไม หรือผลิตที่ไหน

เงินจึงเป็นดั่งภาษาในการสื่อสาร

เงินเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ไม่มีใครควบคุมมันได้อย่างแท้จริง ธนาคารกลางที่ไหนก็คุมมันไม่ได้ ระบบเงินเฟียตที่เราใช้ทุกวันนี้ก็ไม่ได้ถูกวางแผนให้เกิดขึ้น มันเกิดเพราะเงินต้องเปลี่ยนแปลง และผู้คนนับพันล้านก็มีส่วนให้มันเปลี่ยนแปลงเพียงแค่ใช้งานมัน ผู้สถาปนาระบบเงินเฟียตไม่ได้วางแผนว่าเงินเฟียตจะมีสภาพเหมือนทุกวันนี้ พวกเขาแค่ใช้งานระบบนี้เพียงเพื่อเอาตัวรอดจากปัญหาทางการเงินที่พวกเขาเจอในเวลานั้น

และเช่นเดียวกันภาษาที่เราพูดทุกวันนี้ ก็ไม่ได้มีใครวางแผนให้เราใช้ภาษาใดเป็นหลักในการสื่อสาร เพราะภาษานั้นถูกคิดค้นและกำหนดกฎเกณฑ์ได้ยาก มันแค่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการใช้งานของผู้คนทั่วโลกก็เท่านั้น

เช่นภาษาอังกฤษแต่ก่อนและตอนนี้ก็แตกต่างกัน

Why do we not speak Mandarin?

ภาษาอังกฤษที่เราใช้กันทุกวันนี้แตกต่างจากยุคของเชคสเปียร์สหรือดิคเค่นส์อย่างสิ้นเชิง เรามีคำให้ใช้งานน้อยลง โครงสร้างเทนส์ต่าง ๆ ก็น้อยกว่า หลักไวยากรณ์ก็ไม่ซับซ้อนเท่า แต่มันกลับเป็นภาษาที่คนใช้กันไปทั่วโลก เครือข่ายของมันเติบโตไปทั่วโลก

ภาษาจีนกลาง (Mandarin) มี Native speaker เยอะกว่าภาษาอังกฤษ 3-4 เท่า แต่ภาษาอังกฤษกลับมีผู้ใช้งานทั่วโลกมากกว่า ถึงขั้นที่ว่าในไม่ช้าทุกคนในโลกจะพูดภาษาอังกฤษได้ มันจะกลายเป็นเครือข่ายภาษาที่ครอบครองโลก

ในขณะที่ภาษาอื่น ๆ จะค่อย ๆ ล้มหายตายจาก ภาษาคอร์นิชสูญพันธุ์ไปแล้ว ทุกวันนี้แทบไม่มีคนพูดเวลช์หรือแกร์ลิก ไหนจะสำเนียงพื้นถิ่นของฝรั่งเศสและอิตาลีที่ค่อย ๆ หายไปตามกาลเวลา และไม่ต้องสงสัยเลยว่าภาษาในอัฟริกา เอเชีย และอเมริกันพื้นเมืองอีกจำนวนมหาศาลที่กำลังต่อคิวสูญพันธุ์ (ถ้ามันยังอยู่ให้สูญพันธุ์น่ะนะ)

คำถามก็คือ “ภาษาขยายสเกลได้ขนาดไหน?”

ภาษาอังกฤษมีศักยภาพพร้อมที่จะกลายมาเป็นภาษาเดียวของโลก มันเป็นเรื่องที่แทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วในตอนนี้ ซึ่งไม่มีทางเลยที่ภาษาจีนกลางจะทำได้ และยิ่งไม่มีทางเลยที่ภาษาแกร์ลิก นีอาโปลิตัน หรือสวาฮีลีจะทำได้

คำถามต่อมาคือ “แล้วมีเงินกี่ประเภทที่มนุษย์เคยใช้ในประวัติศาสตร์?” :

เปลือกหอย, ฟันวาฬ, โลหะ, กระดาษ, บุหรี่, ปลากระป๋อง, เหล้าคอนญัค, ดอลลาร์ซิมบัมเว, ไรช์มาร์กส์, เดนารี่, ฟาร์ธิง, ชิลลิ่ง, หรือแม้แต่ชิตคอยน์ ซึ่งเงินเกือบทั้งหมดที่เราเคยใช้นั้นตายไปหมดแล้ว และเงินที่ยังไม่ตายก็จะตาย หลงเหลือแค่ทองคำเท่านั้นที่จะได้ไปต่อ เพราะมันคงทนถาวรตลอดกาล

แต่พอมองไปที่สายเคเบิ้ลข้ามมหาสมุทรแล้ว คุณก็จะเห็นปัญหา คุณส่งทองคำผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไม่ได้ สิ่งที่คุณส่งได้มีแค่ทองคำกระดาษผ่านบุคคลที่สาม

Money for the Internet

ดอลลาร์สหรัฐคือเงินทุนสำรองของโลก คุณส่งดอลลาร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ แต่มันเป็นเรื่องยากสุด ๆ สำหรับคนที่ไม่ใช่อเมริกันชนที่จะมีบัญชีธนาคารที่ใช้สกุลเงินดอลลาร์ และด้วยความที่ค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนเงินสกุลอื่นเป็นดอลลาร์ก็แสนแพง ไหนจะการโอนเงินข้ามประเทศที่อาจใช้เวลาหลายวัน และผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลกก็ยังไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ มันทำให้พวกเขาถูกกีดกันออกจากระบบการเงินโดยสิ้นเชิง

ดอลลาร์ คือ สกุลเงินประจำชาติอเมริกาที่ถูกใช้ไปทั่วโลก ประเทศของคุณจะเลือกใช้ดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลักก็ได้ (หลายประเทศทำแบบนั้น) แต่มันแปลว่าคุณจะต้องก้มหัวให้กับนโยบายทางการเงินของอเมริกาอย่างไม่มีทางเลือก การเมืองของอเมริกาจะชี้นำประเทศของคุณ นี่คือเหตุผลว่าประเทศที่มีวาระทางการเมืองชัดเจนเป็นของตนเองจะปฏิเสธการใช้ดอลลาร์เป็นสกุลหลักและมีสกุลเงินประจำชาติเป็นของตัวเอง

เพราะเงินนั้นถูกกีดกันได้

แต่ภาษาไม่สามารถถูกกีดกันโดยเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศ อย่างน้อยก็ภาษาอังกฤษละหนึ่ง และถ้าจะมีสกุลเงินที่ไม่ขึ้นกับการเมืองใด ๆ และไร้พรมแดนอย่างแท้จริงเหมือนกับโครงข่ายอินเทอร์เน็ต สกุลเงินนั้นก็จะขยายสเกลไปในทิศทางที่ไม่มีสกุลเงินประจำชาติสกุลไหนทำได้ เครือข่ายของมันจะขยายตัวไปอย่างเป็นธรรมชาติ

…และมันจะขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง

Bitcoin is English

คุณไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีธนาคารเพื่อใช้งานบิตคอยน์ สิ่งที่คุณต้องการก็แค่มือถือสักเครื่องที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ และโลกเราอยู่ในจุดที่ใครที่อยากมีมือถือก็สามารถหามาครอบครองสักเครื่องได้ไม่ยาก นี่แปลว่าแม้แต่คนที่เข้าไม่ถึงบริการธนาคารก็สามารถใช้งานบิตคอยน์ได้

สาระสำคัญอยู่ตรงนี้.. “หากเงินคือภาษา บิตคอยน์ก็คือภาษาอังกฤษ”

“บิตคอยน์” มีศักยภาพในการขยายตัวแบบที่สกุลเงินไหนก็ไม่มีทางทำได้ และแม้เราจะเห็นราคาของมันร่วงในช่วงนี้ แต่ตัวเลขอัตราแฮช (hash rate) ของระบบบิตคอยน์กลับพุ่งขึ้นเป็นสองเท่าจากปีที่แล้ว หรือพูดง่าย ๆ คือ ระบบของบิตคอยน์เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล

มาลองฟังเรื่องสั้นสนุก ๆ กันสักเรื่องดีกว่า :

กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี้เอง ณ ตอนนั้นเงินปอนด์ยังได้รับการยอมรับไปทั่วโลกยิ่งกว่าดอลลาร์ นักข่าวสาวอเมริกันนามว่า “เนลลี่ บิลลี่” ต้องการเลียนแบบนิยาย “80 วันรอบโลก” ของจูลส์ เวิร์นส์ แต่นักข่าวสาวรายนี้เธอใช้เวลาเพียง 72 วันก็เดินทางรอบโลกได้สำเร็จ โดยเธอพกเงินปอนด์ไปด้วยเพื่อใช้จ่ายในการเดินทาง แต่ก็ไม่ลืมพกดอลลาร์ไปบ้างเล็กน้อยเพื่อทดสอบว่าเงินอเมริกันนี้เป็นที่รู้จักนอกแผ่นดินลุงแซมมั้ย

เธอออกเดินทางจากมหานครนิวยอร์กไปทางทิศตะวันออก แต่เธอไม่เห็นเมืองไหนรับเงินอเมริกันเลยจนกระทั่งถึงเมืองโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา ที่ซึ่งทองคำมูลค่า 20 ดอลลาร์ถูกใช้เป็นเครื่องประดับ พ่อค้ายอมรับเงินดอลลาร์ของเธอก็จริง แต่เงินอเมริกันของเธอมีมูลค่าแค่ 40% ของมูลค่าบนธนบัตร

ใช่แล้ว ตอนนี้มันยังเป็นเรื่องยาก (แต่ยังเป็นไปได้) ที่จะทำให้ผู้คนยอมรับบิตคอยน์ว่าจับต้องได้ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะมันไม่ได้ถูกออกแบบมาอย่างนั้น เนื่องจากบิตคอยน์คือเงินของระบบอินเทอร์เน็ต

และแม่คุณเอ๋ย มันขยายตัวได้แบบที่คุณคาดไม่ถึงเลยล่ะ.

หมายเหตุ : แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับ https://bitcoinmagazine.com/culture/bitcoin-is-the-language-of-the-internet เผยแพร่ครั้งแรกที่ : https://ljungdurst.wordpress.com

ljungdurst

A senior copywriter and football columnist turned junior bitcoiner—thanks to inspirations from "Ajarn Piriya" his Architectural and Planning Faculty's senior turned bitcoin grandmaster who's been advocating the given subject for almost a decade. Now his life's calling is clear: orange-pilling the world.

** ทุกบาทหรือทุกซาโตชิที่ donate จะถูกส่งเข้ากระเป๋าของผู้เขียนโดยตรงครับ :) **

Share this post

One comment

Leave a Reply

Connect with

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Related Posts

Lightning Network
ljungdurst

ง่ายกว่าพร้อมเพย์? แชร์ประสบการณ์ใช้ Lightning ซื้อหนังสือครั้งแรก

มีเงินบาท แต่ไม่มี LN (Bitcoin Lightning Network) แล้วจะซื้อหนังสือหรือให้ทิปนักเขียนบน Right Shift ยังไงล่ะทีนี้? ผมมีคำตอบ

Read More »
สาเหตุคนมีลูกกันน้อยลง
Fiat
ljungdurst

“เงินเฟียต” สาเหตุน่ารังเกียจที่ทำให้คนมีลูกน้อยลง (Fiat Has Debased Having Children)

เมื่อโครงสร้างสถาบันครอบครัวที่อุ้มชูมนุษย์มาตลอดถูกแทนที่ด้วยพฤติกรรมแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกิน (rent-seeking) และการพึ่งพิงสวัสดิการจากรัฐ คุณค่าของครอบครัวก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

Read More »
honey badger bitcoin digital art
Opinion
ljungdurst

6 เหตุผลที่บิตคอยน์คือตัวฮันนี่แบดเจอร์แห่งเงิน

ตัวฮันนี่แบดเจอร์ (honey badger) นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องความอึดตายยากและความแข็งแกร่งสมบุกสมบันยิ่งกว่าอะไร และนี่คือ 6 เหตุผลว่าทำไมลักษณะอันน่าทึ่งของมันถึงเอามาเปรียบเทียบกับบิตคอยน์ (Bitcoin) ได้เป็นอย่างดี

Read More »
nayib bukele
Bitcoin Adoption
ljungdurst

“เลิกหลงเชื่อคำลวงของพวกอีลีทได้แล้ว” นายิบ บูเคเล่ ผู้นำเอลซัลวาดอร์

ถามตัวคุณเองว่าทำไมพวกอีลีทมากอำนาจทั้งหลายในโลกถึงต่อต้านการใช้งานบิตคอยน์ของประเทศเล็ก ๆ อย่างเอลซัลวาดอร์? ทำไมพวกเขาถึงต้องแคร์?

Read More »