ทองคำ! นอกจากประโยชน์ต่อวงการเครื่องประดับแล้ว มนุษย์ยังใช้ทองคำในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, ใช้ในระบบการสื่อสารโทรคมนาคม, ใช้ในด้านการแพทย์, ทันตกรรม, ใช้เป็นวัสดุชิ้นส่วนของยานอวกาศ, การประกวด, การแข่งขัน, กีฬาโอลิมปิก หรือรางวัลออสการ์ เหรียญทองหรือถ้วยรางวัล ต่างก็ทำจากทองคำ
และทองคำยังมีประวัติศาสตร์ต่อมนุษย์มาโดยตลอดอย่างยาวนาน
ชาวอินคาในอเมริกาใต้เชื่อว่าทองคำ คือ เหงื่อที่หยดลงมาจากดวงอาทิตย์ เมื่อถึงเทศกาลคริสต์มาสก็จะมีการแสดงละครเรื่องราวการประสูติของพระเยซู โดยในเรื่องจะมีโหราจารย์ได้ให้ของขวัญ 3 อย่างกับพระเยซูกุมาร ซึ่ง 1 ใน 3 อย่างนั้นก็คือ ทองคำ
ผมชอบทวิตเตอร์ของคุณ Lina Seiche (ลิน่า ซีเซ่) มากๆ เธอได้ทวิตเอาไว้ว่า..
“หากคุณต้องการเข้าใจ Bitcoin สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ให้เรียนรู้เกี่ยวกับเงิน เมื่อคุณเข้าใจว่าระบบของเงินทำงานยังไง คุณจึงจะเข้าใจว่าทำไม Bitcoin ถึงมีความสำคัญ”
บทความนี้เราจะมาเปรียบเทียบ Bitcoin ทองคำ และเงินดอลลาร์ ด้วยคุณสมบัติของการเป็นเงินที่ดีกันนะครับ
โดยอุปทานของเงิน ต้องผูกอยู่กับปริมาณทองคำที่มีอยู่ในแต่ละประเทศในขณะนั้น ต่อมาช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ระบบ Gold standard ได้ถูกยกเลิกไป เพราะแต่ละประเทศต้องการเงินทุนในการทำสงคราม
จนมาถึงระบบ Bretton Woods ในปี 1944 สาระสำคัญอยู่ที่การผูกเงินดอลลาห์สหรัฐฯ โดยมีทองคำหนุนหลัง และความถดถอยของระบบ Bretton Woods ก็เริ่มเห็นเด่นชัดขึ้นตั้งแต่ 1960 เป็นต้นมา จากการแทรกแซงนโยบายการเงินการคลังแบบขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
จนในที่สุด ปี 1971 ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ได้ประกาศยกเลิก ระบบ Bretton Woods หมายความว่าเงินดอลลาร์จะเป็นอิสระจากทองคำ รัฐบาลสหรัฐฯ จะพิมพ์เงินเท่าไรก็ได้ โดยไม่ต้องอิงกับปริมาณทองคำที่มีอยู่อีกต่อไป
การยกเลิกระบบ Bretton Woods ในครั้งนี้เรียกว่า “ปรากฏการณ์ Nixon Shock”
จาก Gold Standard สู่ยุคของ Fiat Currency หรือที่เรียกว่า “เงินตรา” ซึ่งเป็นเงินที่เป็นเพียงแค่กระดาษที่คุณจำเป็นต้องเชื่อใจและไว้ใจในรัฐบาลเท่านั้น
เมื่อก่อนที่เราใช้ระบบมาตรฐานทองคำ Gold Standard เป็นระบบการเงินระหว่างประเทศ ถือว่ามีเสถียรภาพมากในการใช้เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ซึ่งเป็นการเทียบค่าเงินผ่านน้ำหนักทองคำ พอออกจากระบบมาตรฐานทองคำ หนี้ของสหรัฐ เมื่อปี 1971 ตอนนั้นหนี้ต่ำกว่า 400 พันล้านดอลลาร์ แต่ในปี 2021 หนี้ของสหรัฐฯ พุ่งทะยานถึง 31.4 ล้านล้านดอลลาร์
หนี้ของสหรัฐตั้งแต่ปี 1989 จนถึงปี 2021 เพิ่มขึ้น มากกว่า 800%
รัฐบาลสหรัฐฯ มีงบประมาณขาดดุลมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลากว่า 51 ปี แต่ไม่ว่าจะมีหนี้สูงมากแค่ไหน การใช้จ่ายของภาครัฐก็ยังสูงขึ้นแบบเท่าทวีคูณ
เมื่องบประมาณขาดดุล แล้วรัฐบาลต้องใช้เงินโดยการกู้ แต่ระดับหนี้มันชนเพดาน เขาก็แค่แก้กฏหมาย ขยับเพดานหนี้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ นับตั้งเเต่ปี 1960 จนถึงปี 2021
“ผมไม่เชื่อว่าเราจะมีเงินที่ดีได้อีกเลย ถ้าหากเราไม่สามารถเอาเงินออกมาจากมือของรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถเอามันออกมาจากมือของรัฐบาลได้ด้วยการใช้กำลัง สิ่งเดียวที่เราทำได้ คือ การใช้วิธีทางอ้อมอย่างชาญฉลาดบางวิธี โดยการสร้างสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถหยุดยั้งได้”
F. A. Hayek ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อปี 1984
“หรือสิ่งนั้น คือ Bitcoin ” ?
แล้ว Bitcoin เกิดมาเพื่ออะไร? เกิดมาทำไม? มาฟัง อ.พิริยะ อธิบายกันครับ
ทองคำ มีคุณสมบัติของการเป็นเงินที่ดี โดยเฉพาะด้านอุปทาน แต่จุดอ่อนของทองคำ คือ มันถูกควบคุมด้วยอำนาจรวมศูนย์
อุปทานของดอลลาร์ไม่มีขีดจำกัด จากการยกเลิกระบบ Bretton Woods ในปี 1971 สิ่งเดียวที่ดอลลาร์มีก็คือ มันเป็นเงินที่มีการยอมรับในสังคม ถึงแม้เราต้องอยู่กับภาวะเงินเฟ้อที่ทำลายความมั่งคั่งและทรัพย์สินของประชาชนมาโดยตลอด #BitcoinFixesThis
Bitcoin จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นเงินที่ดีได้ยังไง?
เรามาดูคุณสมบัติของเงินที่ดีก่อนนะครับ ว่ามีอะไรบ้าง?
- durability ความคงทน
- portability การพกพา
- divisibility การแบ่งเป็นหน่วยย่อย
- uniformity การมีรูปแบบลักษณะที่เหมือนกัน
- limited supply อุปทานที่มีอย่างจำกัด
- acceptability การยอมรับ
Durability ความคงทน
Bitcoin มันจับต้องไม่ได้ มันคืออากาศธาตุ แล้วจะมีความคงทนได้ยังไงถ้ามันไม่มีอยู่จริง?
Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลตัวแรก และเป็นเพียงตัวเดียวที่ใช้ระบบกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ทำให้ Bitcoin แข็งแกร่งมาก ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลในอดีตย้อนหลังได้ มีความสามารถในการต่อต้านการยึด, การอายัดเงิน และการปิดกั้นในการใช้เงิน
Bitcoin เปิดตัวมาตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2009
มันทำงานได้โดยไม่มีข้อบกพร่องมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา
Portability การพกพา
เพราะ Bitcoin เป็นเงินดิจิตอล เราสามารถใช้จ่ายเงินด้วย wallet ที่เป็นแอพลิเคชันต่างๆ ที่ช่วยให้เราสามารถโอนเงินข้ามทวีปได้ด้วยเวลาเพียงไม่กี่วินาที
โดยข่าวจากงาน Bitcoin 2022 ที่จัดขึ้นที่ไมอามี่ รัฐฟลอริดา ที่ผ่านมา Jack Mallers ได้ประกาศว่า McDonald’s, Walmart, Starbucks ได้ยอมรับ Bitcoin และสามารถชำระ Bitcoin ผ่าน Lightning Network ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ไม่มีตัวกลาง ไม่มีค่าธรรมเนียม 3% และยังมีร้านค้าและบริษัทอีกจำนวนมากที่ยอมรับการใช้ระบบนี้
เมื่อเราเปรียบเทียบเงินสด และทองคำ จำนวนมูลค่า $1,000,000,000 (หนึ่งพันล้านดอลลาร์) จะเห็นว่าทองคำและเงินสดมีน้ำหนักมาก ทำให้ยากต่อการพกพาเคลื่อนย้าย
สำหรับ Bitcoin คุณแค่จด seed phrase เก็บไว้ในกระดาษ แต่ถ้าจะให้ดีก็ควรจด seed phrase ไว้ที่แผ่นโลหะเพื่อความคงทนต่อการเก็บรักษา และที่สำคัญคือห้ามทำหายเด็ดขาด
Divisibility การแบ่งเป็นหน่วยย่อย
Bitcoin สามารถแบ่งทศนิยมได้ 8 ตำแหน่ง
1 Bitcoin จะมี 100,000,000 Satoshi (หนึ่งร้อยล้านซาโตชิ)
1 Satoshi จะเท่ากับ 0.00000001 Bitcoin
เช่น 0.00005000 Bitcoin เราเรียกว่า 5000 Satoshi
ในขณะที่เงิน fiat แบ่งเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งเท่านั้น สำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนทองคำด้วยลักษณะทางกายภาพของมันเป็นโลหะแข็ง จึงเป็นจุดอ่อนที่ยากต่อการแบ่งหน่วยย่อย
Uniformity การมีรูปแบบลักษณะที่เหมือนกัน
ทุกหน่วยของทองคำสามารถพิสูจน์ด้วยตัวมันเองว่าเป็นของจริง เป็นของแท้
เช่นกัน.. ทุกหน่วยของ Bitcoin ก็สามารถพิสูจน์หรือตรวจสอบได้ว่าเป็นของแท้โดยทุกคนที่อยู่ในระบบ
Limited supply อุปทานที่มีอย่างจำกัด
ด้วยการตัดสินใจของ Nixon ที่ใช้อำนาจทำลายข้อตกลงของระบบ Bretton Woods ในปี 1971 ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ก่อนหน้านี้อุปทานของเงินดอลลาร์มีจำกัดจากการผูกไว้กับทองคำ ด้วยเพราะการใช้อำนาจมาเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินที่ต้องใช้ความเชื่อใจในตัวกลางคือธนาคารกลางสหรัฐฯ
แต่สำหรับ Bitcoin นั้นยากมากที่จะมีอำนาจใดสามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินของ Bitcoin ได้ อุปทานที่มีอย่างจำกัดของ Bitcoin จึงเหนือกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ในส่วนของ ทองคำ ที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดปัจจุบันนี้ เป็นผลผลิตจากการผลิตทองคำของมนุษย์ในเวลานับหลายพันปี มันจึงมีจำนวนที่เยอะมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับทองคำที่ผลิตได้
จากผลการสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่าในช่วง 7 ทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการผลิตของทองคำมีความเสถียรอยู่ที่ 1.5% ซึ่งปีที่มีการผลิตทองคำสูงสุดคือปี 1940 และหลังจากนั้นก็ไม่เคยมีปีไหนเลยที่ปริมาณทองคำเพิ่มขึ้นสูงกว่า 2% ได้อีกแม้แต่ครั้งเดียว
ด้วยอัตราการผลิตที่ต่ำ ทำให้ทองคำยังคงรักษาบทบาทหน้าที่ทางการเงินของมันเอาไว้ได้ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
สำหรับ Bitcoin ด้วยกระบวนการปรับระดับความยากง่ายอัตโนมัติ (Automatic difficulty adjustment algorithm) คือส่วนที่อัจฉริยะที่สุดในการออกแบบระบบของ Bitcoin ที่ไม่ว่าจะมีคนเข้ามาขุด Bitcoin มากเท่าไหร่ Bitcoin ก็ยังจะผลิตด้วยอัตราคงที่ และจะลงลงอย่างคาดคะเนได้จากปรากฏการณ์การ Halving ของ Bitcoin ด้วยการลดอัตราการผลิตเหรียญใหม่
และนี่เอง.. จึงทำให้ Bitcoin มีลักษณะคล้ายทองคำ
แต่เป็นทองคำดิจิตอล ที่ไม่ถูกรัฐบาล หรืออำนาจใดควบคุมมันได้
ลองนึกภาพดู.. หากมนุษย์ไปค้นพบดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่มีทองคำมากมายบนดาวดวงนั้น ถึงวันนั้นราคาทองคำจะเป็นอย่างไร?
แต่ Bitcoin จะมีจำนวนจำกัดที่ 21 ล้าน Bitcoin และพอถึงปีค.ศ. 2140 ก็จะไม่มี Bitcoin ถูกผลิตขึ้นมาได้อีกเลย ทำให้อัตราส่วน สต็อค-ทู-โฟลว์ ของบิตคอยน์กลายเป็นอนันต์
ในทางทฤษฎีแล้วในแง่จำนวนจำกัดอุปทานของ Bitcoin มันดีกว่าทองคำด้วยซ้ำ
Acceptability การยอมรับ
เมื่อเราเปรียบเทียบคุณสมบัติของการเป็นเงินที่ดีแล้ว Bitcoin เหนือกว่าทั้งทองคำ และดอลลาร์สหรัฐ เหลืออย่างเดียวคือ “การยอมรับ“
จากระบบการเงินรวมศูนย์สู่ระบบการเงินทางเลือกใหม่ไร้ศูนย์กลาง Bitcoin เป็น “เงิน” ที่ไม่ขึ้นกับรัฐ หรืออำนาจใด จึงไม่มีกฏหมายใดควบคุมมันได้
แน่นอนว่า.. เมื่อมันควบคุมไม่ได้ มันจึงยากที่จะมีรัฐใด หรือผู้มีอำนาจใดยอมรับมัน หากพวกเขายังต้องการที่จะควบคุมมันอยู่ เพราะในอดีตนั้นมีความพยายามมากมายในการสร้างเงินในรูปแบบต่างๆ แต่ความพยายามทั้งหลายนั้น ไม่เคยประสบความสำเร็จได้เลย เพราะการผูกขาดโดยอำนาจจากรัฐบาล
ตัวอย่าง เช่น Facebook พยายามจะสร้างสกุลเงินขึ้นมาแต่ถูกรัฐบาลทั่วโลกต่อต้าน โดยอ้างว่า “เงิน” นั้นเป็นอภิสิทธิ์โดยชอบธรรมว่ามันต้องเป็นของรัฐเท่านั้น จึงเป็นปัญหาเมื่อใครก็ตามต้องการสร้างสกุลเงินที่อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาล
แต่สำหรับ Bitcoin มันเป็นสกุลเงินดิจิตอลตัวแรกที่รัฐไม่สามารถแบนมันได้ นอกจากรัฐจะแบนตัวเองออกจาก Bitcoin ทำให้การใช้ Bitcoin เป็นการใช้เงินที่มีอิสรภาพจากอำนาจรัฐ เพราะรัฐไม่สามารถควบคุมหรืออายัดบัญชี Bitcoin ของเราได้เหมือนเงินที่อยู่ในระบบธนาคาร
มนุษยชาติติดอยู่กับปัญหาระบบการเงินมาตลอด ทว่าแสงสว่างนั้นได้ส่องสว่างขึ้นแล้ว Bitcoin เป็นคำตอบสำหรับผู้ที่เข้าใจในปัญหาของระบบการเงินรวมศูนย์ในการแก้ปัญหาศักยภาพในการแลกเปลี่ยน, ความมั่นคง และความเป็นอธิปไตยทางการเงินของบุคคล
Don’t trust, verify – อย่าเชื่อ แต่จงพิสูจน์