FSP
FOTO Soup

FOTO Soup

ทำไมต้องแยกอำนาจการเงินออกจากรัฐ

การแยกอำนาจทางการเงินออกจากรัฐ ทำไมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนสังคมสู่อิสรภาพที่แท้จริง

การแยกศาสนาออกจากรัฐ

ตลอดประวัติศาสตร์ศาสนาเข้ามาเกี่ยวพันกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจมาโดยตลอดสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทวดาหรือเทพเจ้ามีอิทธิพลทางความเชื่อกับมนุษย์เป็นอย่างมากความเชื่อมีผลต่อวิถีชีวิตมนุษย์ในด้านการแพร่ขยายสังคมได้ไวกว่าสัตว์ Primates (อันดับวานร) ชนิดอื่น ๆ

Dunbar’s Number คือจำนวนตัวเลขที่มนุษย์คนหนึ่งสามารถรักษาความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี หากสังคมมนุษย์ที่รวมตัวกันมีกลุ่มขนาดที่ใหญ่กว่า 150 คน ก็จะเริ่มอยู่ด้วยกันลำบาก หนึ่งในความสามารถของการก้าวข้ามขีดจำกัดนี้ก็คือ ความเชื่อ ศาสนา ทำให้มนุษย์รู้สึกเป็นพวกเดียวกัน

ชาวคาทอลิกที่ไม่เคยรู้จักกันอาจพร้อมใจบริจาคเงินสร้างโรงพยาบาลเพราะพวกเขาต่างก็เชื่อเรื่องบุตรของพระเจ้า ที่ลงมาเกิดเป็นมนุษย์และยอมสละชีพเพื่อไถ่บาปให้แก่พวกเราทุกคน

 ทนายความสองคนที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน อาจจะร่วมมือกันเพื่อว่าความให้จำเลยที่เขาไม่รู้จัก เพราะพวกเขาต่างเชื่อเรื่อง “ความยุติธรรม” และ “สิทธิมนุษยชน”

พิธีงานศพเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่ใช้ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายว่าเมื่อมนุษย์เสียชีวิตลงแล้ว เปรียบเสมือนกับการได้กลับไปอยู่กับพระเจ้าบนสวรรค์ จะมีชีวิตใหม่ที่เป็นนิรันดร์

ความเชื่อนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้นำชุมชนเริ่มทำการรบกับชนเผ่าอื่น ๆ ได้แต่กับ “สงครามเบ็ดเสร็จ” มันเลวร้ายกว่านั้นมาก สงครามมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเพื่อสร้างชาติให้มีความมั่นคง เพื่อประเทศชาติส่วนรวม เพื่อรักษาอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐแท้จริงแล้วที่กล่าวมาคือคำหลอกลวงจากรัฐ ที่ชอบสัญญากับประชาชนว่าชีวิตจะดีขึ้นหลังจากนี้

เมื่อรัฐต่าง ๆ ไม่ได้ทำสงครามกันเพียงเพื่อความอยู่รอด แต่กลับเพื่อแสวงหาอำนาจผลประโยชน์ทางการค้าและการล่าอาณานิคมซึ่งกลายเป็นชนวนเหตุแห่งสงครามเพราะสงครามทำให้พวกเขามีอำนาจมหาศาล ทำให้พวกเขาสามารถสร้างกองทัพที่ยิ่งใหญ่จนส่งผลให้พวกเขากลายมาเป็นผู้ปกครองพลเมืองผู้ซื่อสัตย์ ที่อยู่ด้วยความหวาดกลัวผู้รุกรานจากต่างแดน

ผู้มีอำนาจได้ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและความเชื่อ เป็นกลไกเครื่องมือในการปกครองประเทศในฐานะรัฐบาล แต่เราผู้คนต้องเข้าใจว่า “รัฐบาล” ไม่ใช่ “ชาติ” หลายศตวรรษที่ผ่านมาในหลาย ๆ ประเทศ ก็ได้ใช้ความเชื่อเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการปกครองประชาชน มักอ้างว่าผู้ปกครองหรือผู้นำนั้นเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงใกล้ชิดกับพระเจ้า บ้างก็เชื่อว่าผู้ปกครองเป็น “สมมติเทพ” หรือ “เทวราชา” ผู้มีบุญบารมีสูงส่ง แท้จริงแล้วไม่ต่างอะไรกับลาคลุมหนังสิงโต

การตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกา กลายเป็นปัญหาใหม่มาสู่ชนชั้นปกครองเมื่อผู้คนที่มีความหลากหลายทางศาสนา ได้มารวมตัวกันจนทำให้รัฐต่าง ๆ เกิดขึ้นมาใหม่จนนำไปสู่แนวคิดของนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษ ที่ชื่อว่า John Locke

Locke ได้ให้เหตุผลว่าศาสนาคือเสรีภาพปัจเจกบุคคล ส่วนการเมืองเป็นเรื่องสาธารณะเว้นแต่การกระทำนั้นได้ล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น จึงต้องให้หน่วยงานรัฐเข้ามาปกป้องทุกคนแนวคิดของล็อคสัมพันธ์กับข้อเสนอที่ว่า รัฐไม่ควรใช้อำนาจแทรกแซงความเชื่อทางศาสนาของประชาชน

แต่ขณะเดียวกันประชาชนก็ต้องยอมรับอำนาจของผู้ปกครอง ที่พวกตนเลือกเข้ามาบริหารกิจการสาธารณะ จึงกลายเป็นว่าข้อเสนอของล็อคสนับสนุนอำนาจทางการเมืองแก่รัฐ เพราะได้ให้ความชอบธรรมในการลงโทษแก่ผู้ที่เป็นภัยและสร้างความเสียหายต่อสาธารณประโยชน์ ซึ่งรวมถึงผู้ปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนาก็ถูกมองว่ากระทบต่อสาธารณประโยชน์ด้วยเช่นกัน เท่ากับว่าทั้งรัฐและประชาชนต้อง “อดกลั้นซึ่งกันและกัน” ซึ่งได้กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ในโลก

โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐฯ ได้บอกว่า รัฐไม่ควรบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการก่อตั้งศาสนา หรือการห้ามไม่ให้ประชาชนใช้ศาสนาอย่างเสรี ซึ่งได้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งแรกของสหรัฐฯ เกี่ยวกับเสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพการพูด เสรีภาพของสื่อ สิทธิในการชุมนุมและร้องเรียน นำไปสู่การปรากฏตัวเกิดขึ้นของรัฐฆราวาส (Secular State) ที่เกือบทั่วทั้งหมดในสังคมแถบยุโรปได้เปลี่ยนฐานทางความชอบธรรมที่อิงอยู่กับศาสนา มาเป็นฆราวาสหรือรัฐในนามผลประโยชน์แห่งชาติแทน

แนวคิดฆราวาสนิยมคือการแบ่งแยกระหว่างศาสนาและรัฐ โดยแนวคิดฆราวาสนิยมมิใช่ข้อเสนอซึ่งต่อต้านศาสนา หากแต่เป็นหนทางหนึ่งในการปลดแอกระหว่างรัฐและศาสนา เป็นหนึ่งในความพยายามของรัฐสมัยใหม่ (Modern State) ที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นกลาง โดยมิให้สิทธิพิเศษแก่ศาสนาใดเป็นพิเศษ หน้าที่หลักของรัฐฆราวาสคือการสร้างสังคมเป็นปึกแผ่น ควบคู่กันไปกับการอำนวยความสะดวกให้พลเมืองของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นผู้ศรัทธาหรือผู้ไม่ศรัทธาให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ อย่างสมานฉันท์

เมื่อเสรีภาพทางความคิดผลักดันมนุษยชาติไปข้างหน้าด้วยวิธีการที่ไม่เคยมีมาก่อนการให้เหตุผลว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ไม่ใช่อาชญากรรมอีกต่อไป

ความเชื่ออย่างไร้เหตุผลของศาสนาไม่เป็นภาระต่อการก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อีกต่อไป

ในที่สุดความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการมีเหตุผลจึงเป็นที่ประจักษ์

มนุษยชาติได้ละทิ้งความเชื่อทางไสยศาสตร์ ชนชั้นนำไม่สามารถหลอกผู้คนให้ยอมจำนนต่อคำโกหกของพวกเขาได้อีกต่อไป….หรือเปล่านะ! 

การแยกอำนาจการควบคุมเงินออกจากมือรัฐ

เงินตรา ประเทศ ศาสนา ความเชื่อ ทั้งหมดคือสิ่งสมมติที่ทรงพลังมากที่สุดที่มนุษย์สร้างขึ้นมา

เงินคือสินค้าที่ทุกคนต้องการ ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยความเชื่อไม่ว่าจะเป็นเงินกระดาษหรือเปลือกหอย เพียงทุกคนเชื่อว่าเงินนี้สามารถแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าที่เราต้องการได้ ถ้าไม่มีเงินเราไม่สามารถมีสังคมได้อย่างทุกวันนี้ ถ้าไม่มีเงินเราก็ยังต้องเป็นคนล่าสัตว์ต้องออกหากินต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยมือตัวเอง ในอดีตมนุษย์เลือกใช้หลายสิ่งหลายอย่างเป็นเงิน ความสำคัญของเงินคือความยากในการผลิต อารยธรรมของมนุษย์จะเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาที่มีเงินมั่นคงหรือเงินที่สร้างยาก ขณะที่เงิน Fiat หรือเงินตรารัฐบาลที่เป็นเงินสร้างง่าย สุดท้ายแล้วมักจะนำไปสู่การถดถอยของอารยธรรมและการล่มสลายของสังคมอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นราชวงศ์จีน จักรวรรดิโรมัน เงินเสื่อมค่าจากการพิมพ์เงินเพิ่มโดยที่มีทองคำเท่าเดิม

ในยุโรปหรืออเมริกาเองก็ทำแบบเดียวกัน คือมีการก่อตั้งธนาคารกลางแล้วเริ่มทำการพิมพ์เงินเพิ่มทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีทองคำเพิ่มขึ้นตามจำนวนเงินที่พิมพ์ โดยพวกเขาอาศัยข้ออ้างของการทำสงคราม นำไปสู่ข้ออ้างสงครามที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะได้พิมพ์เงินมากขึ้น พอหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจอเมริกาบูมมาก ๆ จากการเงินที่พิมพ์ออกมามากมาย

แต่เงินไม่ได้กระจายไปถึงประชาชนมันไหลไปที่วอลสตรีท(ตลาดหุ้นอเมริกา) นำมาสู่วิกฤตเงินเฟ้อในปี 1920 และเมื่อการพิมพ์เงินหยุดลงเศรษฐกิจก็พัง เกิดเศรษฐกิจ​ตกต่ำครั้งใหญ่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 1929 (The Great Depression 1929 – 1939) หลังจากนั้นพวกเขาก็หาวิธีการหาหนทางว่าเราจะทำยังไงเพื่อที่พิมพ์เงินได้เรื่อย ๆ ในปี 1933 การถือทองคำคือสิ่งผิดกฎหมาย ประธานาธิบดีรูสเวลต์ได้ออกคำสั่งห้ามไม่ให้ประชาชนเป็นเจ้าของทองคำและบังคับให้ประชาชนขายทองคำในอัตรา $20.67 ต่อออนซ์

 เพราะเขากลัวว่าคนจะเก็บทองคำไว้แล้วไม่ใช้ทำให้เศรษฐกิจไม่เดิน หลังจากนั้น 1 เดือน รูสเวลต์จึงปรับราคาดอลลาร์ในตลาดสากลจาก $20.67 เป็น $35 ต่อออนซ์ คิดเป็นการลดค่าดอลลาร์ลงถึง 41% ไม่ต่างอะไรกับการปล้นเงินประชาชน เมื่ออเมริกาแทรกแซงเศรษฐกิจด้วยการผลักดันทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น ฝรั่งเศสคือประเทศแรกที่เห็นความไม่ชอบมาพากล

จึงส่งเรือเพื่อขนทองคำของตัวเองกลับคืนมารวมถึงเยอรมันเองก็เอาด้วย เพราะสงสัยว่าอเมริกามีทองคำสำรองมากเหมือนที่พิมพ์เงินออกมาหรือเปล่า จากนั้นยุคที่เงินของรัฐบาลต้องมีทองคำหนุนหลัง ก็ได้สิ้นสุดลงในปี 1971 ที่เรียกว่า “ปรากฏการณ์ Nixon Shock โดยประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ได้ประกาศยกเลิก ระบบ Bretton Woods หมายความว่าเงินดอลลาร์เป็นอิสระจากทองคำ

รัฐบาลสหรัฐจะพิมพ์เงินดอลลาร์เท่าไรก็ได้ โดยไม่ต้องอิงกับปริมาณทองคำที่มีอยู่ โดยอ้างว่าเงินดอลลาร์มีมูลค่าในตัวมันเอง เป็นเงินตราที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายและที่สำคัญสหรัฐประสบความสำเร็จในการบังคับให้ทุกประเทศต้องใช้เงินดอลลาร์เท่านั้นในการซื้อขาย “น้ำมัน” ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกในยุคนั้น

จนส่งผลให้มีการใช้งานดอลลาร์อย่างแพร่หลายและกลายเป็นระบบการเงินใหม่ ที่เรียกว่า Fiat Currency ตั้งแต่วันนั้นถึงในปัจจุบัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปผลกระทบที่เกิดขึ้นคือการทำลายความมั่งคั่งของประชาชน เงินที่เราถืออยู่ในมือมันเสื่อมค่าลงทุกวินาที ด้วยการที่ Supply ของมันถูกผลิตเพิ่มขึ้นได้ตามใจชอบของธนาคารกลาง การประชุม Fed กลายเป็นที่จับตามองมาตลอด เอาเข้าจริง ๆ ประชุมยังไงมันก็ลงเอยด้วยการพิมพ์เงินเพิ่มและเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงขึ้นทุก ๆ ครั้ง 

ตลอดกว่า 40 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีการพิมพ์เงินอัดฉีดเข้ามาในระบบ เงินส่วนใหญ่จะไหลไปในตลาดทุน มูลค่าของตลาดหุ้นและสินทรัพย์ต่าง ๆ ก็จะพุ่งสูงขึ้น แล้วหลังจากนั้นก็จะเริ่มบานปลายไปถึงราคาของสินค้าอุปโภคบริโภคที่พุ่งสูงขึ้นตาม ส่งผลให้อำนาจในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนลดลงเพราะค่าครองชีพเพิ่มขึ้นไม่สัมพันธ์กับรายได้ และแน่นอนคุณภาพชีวิตของผู้คนก็ต่ำลงเพราะเขาไม่สามารถหาเงินได้เงินมากขึ้น เขาต้องใช้จ่ายมากขึ้นจนทำให้เขาไม่สามารถเก็บเงินได้ ถูกระบบบีบบังคับให้เขาจำเป็นต้องเป็นหนี้ และต้องทำงานใช้หนี้ไปเรื่อยๆ

เราใช้ “เวลา” ทำงานเพื่อเปลี่ยนเป็น “เงิน”
และ “เงิน” เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เราเอาไว้ใช้เก็บ “เวลา” เพื่อใช้จ่ายในอนาคต

เมื่อศาสนาและรัฐไม่ได้เกี่ยวพันกันอีกต่อไป แต่แท้จริงแล้ววันหยุดและพิธีทางศาสนา ยังคงกำหนดโดยรัฐ จากการใช้ปฏิทินเกรกอเรียน วันอาทิตย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ วันหยุดของคริสเตียน เช่น คริสมาสต์และอีสเตอร์ พิธีกรรมทางศาสนาก็ยังมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ประเด็นคือความเชื่อในการปกครองประเทศยังมีอยู่ แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้รัฐยังคงมีอำนาจ อะไรที่ทำให้ใครหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอ้างว่าเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ใช้อำนาจอันชอบธรรมในการปกครองผู้อื่น

ผู้ใดที่ควบคุมเงิน ผู้นั้นควบคุมโลก

จากการใช้ความเชื่อทางศาสนาครอบงำความคิด สู่การควบคุมปกครองประชาชนด้วยอาวุธแส้โซ่ตรวน การทำสงครามเบ็ดเสร็จ การบังคับใช้กฎหมาย สู่การปกครองผู้คนด้วยระบบการเงินที่เรียกว่า Fiat Currency เป็นเครื่องมือที่ผู้มีอำนาจใช้ในการปกครองประชาชนที่ทรงพลังที่สุดในยุคนี้ ที่ทำให้ประชาชนตกเป็นทาสการทำงานที่ไม่วันสิ้นสุดแบบไม่รู้ตัว แม้ว่าพวกเขาพยายามตั้งใจขยันทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะกลายเป็นเศรษฐี แต่ความเป็นจริงคือแค่เอาตัวรอดไปวัน ๆ ก็ยากแล้ว ความร่ำรวยมันกลายเป็นเป็นเป้าหมายที่ยากมาก ๆ สำหรับคนส่วนใหญ่ ด้วยภาวะเงินเฟ้อจากรัฐที่ทำการแทรงแซงเศรษฐกิจ เป็นการทำลายความมั่งคั่งและทรัพย์สินของผู้คนที่เก็บออม เพราะรายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่มากพอที่จะสู้กับอัตราเงินเฟ้อ

“ตราบใดที่รัฐมีอำนาจในการควบคุมเงิน เราก็จะไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริง”

เงินที่มั่นคงจะรักษามูลค่าเอาไว้ข้ามผ่านกาลเวลาได้ ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนคิดถึงอนาคตมากขึ้น โหยหาผลตอบแทนระยะสั้นลดลง สิ่งนี้จะนำมาสู่ความเจริญรุ่งเรือง เกิดพัฒนาการทางอารยธรรม และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

คำว่า “In God We Trust” ที่อยู่บนธนบัตรดอลลาร์ทุกใบ เป็นการตอกย้ำว่าเรายังไม่เคยได้เป็นรัฐฆราวาสอย่างแท้จริง เรายังคงเป็นส่วนหนึ่งของลัทธิความเชื่อทางศาสนา เรายังต้องมอบความเชื่อใจให้กับผู้มีอำนาจ ถ้าเราอยากได้รัฐฆราวาสที่แท้จริงต้องแยกอำนาจการเงินออกจากรัฐ มันไม่มีทางเลือกอื่นและดูเป็นสิ่งที่ยากมาก ๆ จนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะอำนาจในการผลิตเงินอยู่ในมือมนุษย์มาโดยตลอด จากประวัติศาสตร์เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าเมื่อมนุษย์มีอำนาจในการผลิตเงิน มนุษย์จะใช้อำนาจในทางคอรัปชั่นเสมอมา เราเคยได้ยินนักการเมืองพูดถึงระบบโครงสร้างทางการเงินที่มีปัญหาและบอกเราว่าจะต้องแยกอำนาจในการควบคุมเงินออกจากมือรัฐ เพื่อปลดปล่อยอิสรภาพของประชาชนจากการเป็นถูกกดขี่ในระบบการเงินที่เฮงซวยนี้หรือเปล่า?

1802 Thomas Jefferson แยกศาสนาออกจากรัฐ
2008 Satoshi Nakamoto แยกเงินออกจากรัฐ

หากคุณต้องการอิสรภาพ อยากที่จะควบคุมโชคชะตาของตัวเองได้ ต้องการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระไม่ให้ใครมาบงการชีวิตของคุณ ไม่อยากอ้อนวอนร้องขอต่อผู้มีอำนาจเพื่อไม่ให้ปล้นเงินของคุณไป

Bitcoin เป็นทางออก คือสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกคิดค้นขึ้นในปี 2008 โดยผู้ที่ใช้นามแฝงว่า ซาโตชิ นากาโมโต เพื่อใช้เป็นระบบการเงินใหม่ที่ไร้ศูนย์กลาง ถูกออกแบบมาเพื่อต่อต้านระบบการเงินโลกในปัจจุบันที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมประชาชนให้ตกเป็นทาส ไม่มีผู้ใดสามารถควบคุม แก้ไข เปลี่ยนแปลงและแทรกแซงมันได้ แม้กระทั่งรัฐบาลหรือผู้กุมอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกอย่างธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ตาม เป้าหมายคือการปลดแอกมนุษย์สู่อิสรภาพอย่างแท้จริง

และนี่คือสินค้าดิจิตอลชนิดแรกของโลกใบนี้ที่มีจำนวนจำกัดอย่างแท้จริง ไม่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้ไม่ว่าด้วยวิธีใด เป็นครั้งแรกที่มนุษยชาติมีเงินสดดิจิตอลที่มีอุปทานจำกัด ทำให้เรามีหน่วยเก็บรักษามูลค่าที่ดีที่สุดเท่าที่มนุษยชาติได้ค้นพบมา

  • เป็นระบบการเงินทางเลือกใหม่ไร้ศูนย์กลาง ไม่มีใครควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายของมันได้ จะไม่มีใครหน้าไหนสามารถผลิตเงินได้ตามอำเภอใจอีกต่อไป
  • เป็นเงินที่ไม่ต้องอาศัยหลักความเชื่อหรือศาสนาใด ๆ มาครอบงำทางความคิด 
  • เป็นเงินที่ไม่ต้องใช้อำนาจกฎหมายใด ๆ มาบังคับให้เราต้องใช้มัน 
  • เป็นเงินที่ให้เสรีภาพแก่ผู้คนในการทำธุรกรรมได้อย่างอิสระไร้ขอบเขต และมีต้นทุนต่ำมาก ๆ 
  • เป็นระบบการเงินที่ตัดตัวกลางออกไป ไม่จำเป็นต้องมีมือที่สามมาคอยสอดส่องดูแลและควบคุมระบบเพื่อกอบโกยส่วนต่าง 
  • เป็นเงินที่มีศักยภาพจะเข้ามาแทนที่ระบบการเงินที่ผูกขาด
  • เป็นเงินที่มีความสามารถในการต่อต้านการยึด, การอายัดเงิน และการปิดกั้นในการใช้เงิน
  • เป็นเงินที่ให้อธิปไตยทางการเงินส่วนบุคคล ทำให้อำนาจการต่อรองของรัฐต่อประชาชนจะน้อยลง 
  • เป็นสันติวิธีที่สุดในการใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้กับกลุ่มผู้มีอำนาจ 
  • เป็นเงินที่ไร้พรมแดนทำให้เราจะเลือกอยู่ที่ใดก็ได้บนโลกใบนี้

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของความมหัศจรรย์ที่ ซาโตชิ นากาโมโต ได้ค้นพบระบบการเงินใหม่ไร้ศูนย์กลางที่มีศักยภาพครบถ้วนสามารถกลายมาเป็นระบบการเงินหลักของโลก และกำลังค่อย ๆ ท้าทายอำนาจระบบเงินเฟียตมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สุดท้ายแล้วมันจะสำเร็จหรือล้มเหลว “เวลา” จะเป็นเครื่องพิสูจน์

แต่ก็ใช่ว่าบิตคอยน์ในวันนี้จะมีแต่ข้อดีเสมอไป หากคุณอ่านบทความนี้แล้วเกิดสนใจอยากจะลงทุน คุณควรคำนึงถึงความเสี่ยงที่ตามมาด้วย เพราะบิตคอยน์แม้จะเกิดขึ้นมาเป็นเวลา 10 กว่าปี แต่ก็ยังมีอนาคตอีกหลายสิบปีหรือหลักร้อยปีรอมันอยู่ ทำให้เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเจอกับความผันผวนที่สูงมากเมื่อเทียบกับเงินเฟียต รวมถึงความไร้ศูนย์กลางของบิตคอยน์มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่สูงกว่าการฝากเงินในธนาคารหรือเก็บไว้ในตู้เซฟ เพื่อรักษาเงินของเราให้ปลอดภัยไม่ให้สูญหายและถูกขโมยได้

IN MATH WE TRUST.

** ทุกบาทหรือทุกซาโตชิที่ donate จะถูกส่งเข้ากระเป๋าของผู้เขียนโดยตรงครับ :) **

Share this post

Leave a Reply

Connect with

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Related Posts

Bitcoin
FOTO Soup

บิตคอยน์ทำลายสิ่งแวดล้อมจริงหรือ?

บิตคอยน์มีต้นทุนในการผลิตจากการใช้ทรัพยากร “พลังงาน” และ “เวลา” จนเกิดข้อถกเถียงว่าบิตคอยน์สิ้นเปลืองพลังงานและทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่? หรือแท้ที่จริงแล้วบิตคอยน์ช่วยให้เราประหยัดพลังงานได้มากขึ้นต่างหาก?

Read More »
Opinion
FOTO Soup

Bitcoin คือ ทองคำดิจิตอล ?

Bitcoin มีคุณสมบัติหลายด้านที่คล้ายคลึงกับทองคำ เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงได้รับการขนานนามว่า “ทองคำดิจิตอล” บทความนี้จะช่วยแจกแจงให้เห็นว่าทำไม Bitcoin จึงได้รับฉายาเช่นนั้น?

Read More »